Blockchain คืออะไร มันเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ได้อย่างไร? ปลอดภัยแค่ไหน?

ช่วงนี้ถ้าเรามีโอกาสได้อ่านข่าวหรือตามข่าว มักจะได้ยินคำว่า  Blockchain และถ้ายิ่งเป็นข่าวเรื่อง Fintech ก็จะยิ่งมีคำว่า  Blockchain  ลอยเต็มไปหมด หลายๆคนก็อาจจะสงสัยว่า  Blockchain จริงๆมันคืออะไรกันแน่? มันเป็นเทคโลยีเปลี่ยนโลก ได้อย่างไร? แล้วทำไมถึงเป็นกระแสที่เราต้องจับตาดูกันอย่างใกล้ชิด

วันนี้เราจะให้ทุกคนไปทำความรู้จักกับ เทคโนโลยี  Blockchain ที่ได้รับการคาดหมายว่าจะมาเปลี่ยนแปลงโลก ในระยะเวลาอันใกล้นี้กัน

 Blockchain (บล็อคเชน) คืออะไร?

Blockchain บล็อคเชน คือ ระบบการจัดเก็บข้อมูล หรือ เครือข่ายการจัดเก็บข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลเดียวกันได้ แน่นอนว่าเราสามารถรู้ได้ว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลที่อยู่ในระบบ และมีสิทธิ์ใช้ข้อมูลพวกนั้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในบล็อค (Block) และเป็นข้อมูลที่เชื่อมโยงกันอยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตคล้ายห่วงโซ่ (Chain) ทำให้การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบนี้ถูกเรียกว่า Blockchain บล็อคเชน  นั่นเอง

Blockchain (บล็อคเชน) เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมออนไลน์ อย่างไร?

อย่างเมื่อก่อนเวลาที่ เราโอนเงินให้กัน เราก็จำเป็นที่ต้องมีธนาคารเป็นตัวกลางโดยที่เราต้องไปเปิดบัญชีกับธนาคารแล้วจากนั้นถึงโอนเงินหากันได้  ซึ่ง BlockChain ถูกออกแบบมาเพื่อลดขั้นตอนและตัดคนกลางออกไป เพื่อให้ระบบเกิดความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือที่มากขึ้น เพราะในปัจจุบันระบบของธนาคารก็ถูกท้าทายจาก Hacker มือดีมาโดยตลอด แต่อีกประเด็นนึงก็คือเรื่องของค่าธรรมเนียมที่เราจะจ่ายน้อยลงหรือาจจะไม่ต้องเสียเลยก็ได้

“Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง“

Blockchain ถูกออกแบบมาให้เราสามารถส่งข้อมูลหากันหรือแม้กระทั่งส่งเงินหากันได้ โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใดๆ เพราะเวลาที่เราส่งข้อมูลไปหายังผู้รับ ข้อมูลนั้นจะถูกเข้ารหัสไว้ แล้ว คนที่สามารถเปิดดูได้ก็จะมีเพียงคนที่รู้รหัสเท่านั้น ซึ่งก็คือผู้รับ นั่นเอง แน่นอนว่าไม่มีค่าธรรมเนียมหรือถ้ามีก็จะต่ำมากๆโดยที่จะเป็นการแชร์เครือข่ายระหว่างผู้ใช้งานกันเอง ไม่ผ่านระบบของตัวกลางอย่างธนาคารนั้นแปลว่าคนที่รู้ข้อมูลหรือเห็นข้อมูลเราก็จะมีเพียงเราและผู้รับที่เราส่งข้อมูลให้เท่านั้น เพราะ  Blockchain คือระบบที่ออกแบบมาให้ผู้ใช้ติดต่อกับผู้ใช้ได้โดยตรง แบบไม่ผ่านตัวกลาง ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเทคโนโลยีนี้เกิดขึ้นมาจริงๆอาชีพตัวกลางหลายๆธุรกิจก็จะลำบากมากขึ้นให้อนาคต

Bitcoin (บิทคอยน์) กับ Blockchain (บล็อกเชน) เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

Blockchain เป็นเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยของข้อมูล

Bitcoin ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอล

จะเห็นได้ว่า Blockchain ไม่ใช่ Bitcoin และ Bitcoin ก็ไม่ใช่ Blockchain แต่โมเดล Bitcoin มีความต้องการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ มีความปลอดภัย เพราะว่า Blockchain ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะ Bitcoin หรือ FinTech เพียงแต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ FinTech ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน และการบูมของเทคโนโลยีตัวนี้ มาจากความพยายามในการทำ Bitcoin

Blockchain บล็อคเชน จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร?

ยกตัวอย่างที่เห็นชัดๆก็เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) ที่เป็นสกุลเงินดิจิตอล เนื่องด้วยบิทคอยน์ไม่มีเงินจริงๆให้เราจับต้องได้ ดังนั้นเวลาที่เราโอนเงินหากันจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาช่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับบิทคอยน์ เพราะการโอนเงินให้กันก็จำเป็นต้องมีระบบที่น่าไว้ใจได้

หรืออย่างธุรกิจ Startup จะต่างกับ SME ก็ตรงเรื่องการที่เราเอาเทคโนโลยีเข้าไปใส่ธุรกิจดังนั้นส่วนใหญ่ของ Startup มีแนวโน้มที่จะต้องมาใช้เทคโนโลบี Blockchain แน่นอน เพราะทุกอย่างบนโลกแทบจะถูกเปลี่ยนเป็นข้อมูลดิจิตอลได้เกือบทั้งหมด เพราะถ้าเราสแกน กระดาษลงไปให้คอมพิวเตอร์นั้นก็แปลว่าเราได้เปลี่ยนกระดาษเป็นข้อมูลดิจิตอลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

และอีกเหุตผลหนึ่งที่ Blockchain ถูกให้ความสนใจมากขึ้นเพราะปัจจุบันประเด็นเรื่องความโปร่งใสของคนกลาง ก็เป็นประเด็นที่ถูกตั้งคำถามกันมากขึ้น ว่าทำไมเราถึงยอมให้ใครเพียงคนใดคนนึงเข้าถึงข้อมูลเราได้อย่างอิสระ จะดีกว่ามั้ยถ้าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่ส่วนตัวจริงๆ แล้วเราจะรู้ได้เฉพาะกับคนที่เราอนุญาตจริงๆเท่านั้น

Blockchain โอกาสหรือความเสี่ยง ?

การที่ Blockchain มีรูปแบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ (Distributed), เกือบจะเป็น Real Time, ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการได้ และมีรูปแบบดิจิตอล ซึ่งทำให้เกิดข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

ข้อดี ของ Blockchain

ข้อเสีย ของ Blockchain

·         สามารถลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ หรือในสถาบันการเงิน

·         สามารถจัดการต่อธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่จากศูนย์กลาง

·         มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

·         ไม่สามารถลบ หรือกลับไปแก้ไขรายการได้

·         สามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมได้ และวิธีการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ

·         ลดความเสี่ยงจากการฉ้อโกง และการปลอมแปลงบัญชี

·         รับประกันได้ว่าข้อมูลถูกต้องเชื่อถือได้

·         มีการทำธุรกรรมและบันทึกผลได้แบบ real time

·         ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของงาน back office

·         ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมลดลง

·         นิยมใช้สำหรับการทำธุรกรรมที่มีจำนวนเงินน้อยๆ

·         สร้างโอกาสสำหรับผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ

·         ข้อมูลธุรกรรมในบัญชี distributed ledger จะต้องถูกเปิดเผยให้ทุกคนในวง Blockchain รู้

เนื่องจาก Blockchain ไม่มีตัวกลาง ดังนั้นระบบบัญชีจึงเป็นแบบกระจาย Distributed Ledger คือทุกคนในวงจะมีข้อมูลบัญชี Blockchain ที่เหมือนกัน หากใครมีการ update บัญชีก็ต้องแจ้งให้ทุกคนในวงทราบ

 

·         ยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้แพร่หลาย สำหรับบุคคลทั่วไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อมูลเกือบจะทุกรูปแบบสามารถแปลงให้อยู่ในรูปข้อมูลดิจิตอลได้ Blockchain จึงสามารถใช้สำหรับกิจกรรมที่แตกต่าง และหลากหลาย เนื่องจากกิจกรรมแทบทุกประเภทของคนเราตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อถือและตรวจสอบได้ ดังนั้น Blockchain จึงสามารถรองรับการซื้อขายสินค้า บริการ หลักทรัพย์ สินเชื่อ ที่ดิน บ้าน ฯลฯ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วมากขึ้น ง่ายกว่าเดิม และมีต้นทุนน้อยกว่าวิธีเดิมๆ ที่เราคุ้นเคยอย่างมาก

Blockchain (บล็อคเชน) กับประเทศไทย ไปกันได้มั้ย?

สำหรับประเทศไทย แม้ว่าเทคโนโลยี Blockchain จะถือเป็นเรื่องใหม่แต่ด้วยนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ธุรกิจจึงต้องปรับตัวเข้ากับนวัตกรรมใหม่ ๆ ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เริ่มมีนโยบายนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับ Startup ทดสอบกระดานการลงทุนเฉพาะกลุ่ม เพื่อเป็นการทดสอบระบบแยกจากการซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามถือว่าการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับไทยและยังต้องศึกษาการพัฒนาการใช้เทคโนลียีนี้ต่อไปในอนาคต

ส่วนภาคเอกชนไทย ธนาคารกสิกรไทย เริ่มมีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้แล้วเช่นกันแต่ยังไม่ได้เป็นการใช้ในการแลกเปลี่ยนธุรกรรมทางการเงินในระบบออนไลน์ แต่จะนำมาใช้กับการรับรองเอกสารหนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบระบบ โดยโครงสร้างพื้นฐาน Blockchain ที่นำมาใช้ในครั้งนี้มีชื่อว่า “ไฮเปอร์เลจเจอร์” (Hyperiedger) ของบริษัท IBM ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อการประยุกต์ใช้สำหรับองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานในมาตรฐานเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว มีลักษณะพิเศษที่สามารถกำหนดสิทธิให้ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น (Private Blockchain)

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเคลื่อนไหวก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา “Blockchain” เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่เกิดขึ้นซึ่งมาสร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกส่วนของภาคอุตสาหกรรม ฉะนั้นการศึกษา สร้างการรับรู้ การเตรียมความพร้อม และการสร้างความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะกลายเป็นข้อได้เปรียบของผู้ประกอบการในการคว้าโอกาสใหม่ ๆ เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการธุรกิจได้อย่างทันยุคสมัยและเกิดประโยชน์มากที่สุด

แต่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้ระบบ Blackchain ก็ยังถูกตั้งคำถามเรื่องความปลอดภัยอยู่เหมือนกันว่าปลอดภัยจริงหรือเปล่า แล้วต่อจากนี้หน้าตาของระบบ BlockChain จะเป็นอย่างไร จะเข้ามาแทนระบบเก่าได้อย่างสมบูรณ์เลยหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป


Hardware wallet สำหรับเก็บบิทคอยน์

Hardware wallet เก็บบิทคอยน์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเล่าในวงการบิทคอยน์ ที่โด่งดังไปทั่วโลก

blockchain คือ อะไร? ทำไมถึงเป็นเทคโนโลยีมาแรงสำหรับยุคนี้

6 กลโกงการลงทุนบิทคอยน์ มือใหม่ทุกคนต้องระวัง!

คนรวยด้วยบิทคอยน์ มีสักกี่คน? มือใหม่อยากรวย ตามมาดูกัน




Credit: finance.rabbit.co.th,techsauce.co, siamblockchain.com,