Tag: บิทคอยน์ ได้เงินจริงไหม

3 คดีดังแชร์ลูกโซ่ ล่าเหยื่อ“คนอยากรวย” (รู้ทันการต้มตุ๋นทางการลงทุน)

3 คดีดังแชร์ลูกโซ่ ล่าเหยื่อ“คนอยากรวย” (รู้ทันการต้มตุ๋นทางการลงทุน)

หลาย ๆ ครั้งเราคงได้พบกับเพื่อนสนิทสักคนที่ชอบมาแนะนำการลงทุนที่ดีให้กับเรา ทั้งการบอกว่านี่เป็นโอกาสที่จะสร้างอนาคตให้ตัวเอง หรือแม้แต่บอกว่าต้องการแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้กับเรา และหลายครั้งอีกเช่นกันที่เรามักจะเผลอเชื่อใจคนสนิทและลงทุนไปกับการลงทุนที่ “ดูท่าทาง” จะไปได้สวย บางธุรกิจนั้นดูดีและน่าเชื่อถือจริง ๆ แถมยังมีคนดัง ผู้เชี่ยวชาญร่วมลงทุนในโครงการนี้ไปอีกตั้งเยอะ ในเมื่อคนที่มีความรู้มากกว่าเรายังลงทุนไปกับโครงการนี้ แล้วทำไมเราถึงไม่ลงทุนตามเขาไป ดูยังไงโอกาสกำไรก็เห็นอยู่ชัด ๆ

 

ซึ่งทุกครั้งการต้มตุ๋นทางการเงินเองก็มีจุดประสงค์ให้เราเชื่อเช่นนั้นจริง ๆ เพื่อจะทำการหลอกลวงเงินจากผู้ลงทุนจำนวนมากมาย ก่อนที่จะเชิดเงินหายไปอย่างไร้ร่องรอย ทิ้งไว้เพียงคราบน้ำตา (กับความซวยและหนี้) ของนักลงทุนที่ไม่ใส่ใจกับการลงทุนของตนเอง โดยการต้มตุ๋นเหล่านี้หลายครั้งสามารถลอยนวลอยู่ได้นับสิบปี และกวาดเงินไปได้หลายพันล้านเลยทีเดียว

 

 วันนี้จะขอเล่าถึงการต้มตุ๋นทางการลงทุน รูปแบบที่เคยส่งผลกระทบต่อผู้คนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งก็คือ กลยุทธ์ต้มตุ๋นแบบพอนซี (Ponzi’s Scheme) และ แบบปิรามิด (Pyramid Scheme) นั่นเอง พร้อมทั้ง 3 คดีดัง ที่ยังคงเป็นที่กล่าวถึงในปัจจุบัน

 

1. กลยุทธ์ต้มตุ๋นแบบพอนซี Ponzi’s Scheme

 

กลยุทธ์ต้มตุ๋นแบบ Ponzi’s Scheme คืออะไร?

 

หากต้องการพูดแบบสั้น ๆ กลยุทธ์แบบ Ponzi นั้นมีรูปแบบการทำงานที่ง่ายดายมาก นั่นคือ ผู้ทำการต้มตุ๋นจะหลอกนักลงทุนด้วยผลประโยชน์หรือเงินปันผลที่ดูดีเกินจริง เพื่อหลอกให้มีคนลงทุนจำนวนมาก จากนั้นจึงเอาเงินลงทุนที่ได้จากสมาชิกใหม่มาจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับสมาชิกรุ่นเก่าไปเรื่อย ๆ นั่นเอง

โดยธุรกิจประเภทนี้จัดเป็นการต้มตุ๋น เนื่องจากเงินลงทุนนั้นไม่ได้นำไปลงทุนจริง ๆ แต่เป็นเพียงการรวมเงินไว้ และจ่ายเงินปันผลเท่านั้น เมื่อการต้มตุ๋นประเภทนี้สิ้นสุดลง ไม่ว่าจะด้วยการตรวจสอบ หรือจากการไม่มีผู้ลงทุนรายใหม่ (โดนหลอกกันเรียบร้อยทั้งบ้านทั้งเมือง) ก็ตาม จะพบว่ามีผู้ที่ได้กำไรจำนวนน้อย (สมาชิกรุ่นแรก) และมีผู้ที่ซวย (แมงเม่าที่เข้ามาทีหลัง) จำนวนมาก

ซึ่งชื่อของการต้มตุ๋นนี้ก็มาจากชื่อของ นายชาร์ล พอนซี (Charles Ponzi) นักต้มตุ๋นชาวอิตาเลียน-อเมริกัน ผู้นำกลยุทธ์นี้มาใช้สร้างความล่มจมให้ผู้คนจำนวนมากในอเมริกาในช่วงปี 1920 นั่นเอง

 

นาย Charles Ponzi เป็นใคร?

 

ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ปี 1903 ชายอิตาเลียนคนหนึ่งได้เดินทางมาถึงอเมริกาเพื่อหางานทำและชีวิตใหม่ โดยการมาถึงของชายผู้นี้ไม่มีสิ่งใดติดตัว นอกจากเงินเพียง 2.5 ดอลลาร์เท่านั้น เนื่องจากการพนันในการเดินเรือได้ดูดเอาเงินเก็บของเขาไปจนหมด (การพนันไม่ทำให้ใครรวย ยกเว้นเจ้ามือ?) เป็นเวลาหลายปีที่ชายผู้นี้ต้องทำงานต่าง ๆ ในเมือง ทั้งการเป็นเด็กล้างจาน  ได้เลื่อนชั้นเป็นบริกร แต่ก็ถูกไล่ออกอย่างรวดเร็วเพราะไปโกงเงินทอนลูกค้าและขโมยของ ทำงานในธนาคารที่มอนทรีออล แต่ก็ก่อเรื่องปลอมเช็ค กลับมาที่อเมริกา แต่แล้วก็ไปก่อเรื่องลักลอบนำเข้าแรงงานอิตาลีอีก จนต้องไปนอนคุกอยู่หลายครั้ง

 

ในเวลาต่อมาเขาก็ได้กลับมาที่บอสตัน และได้แต่งงานกับหญิงผู้หนึ่งชื่อโรส มาเรีย ผู้ได้ออกทุนทำธุรกิจให้กับเขา แต่ก็ล่มจมในเวลาไม่นานนัก หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ เขาก็ได้รับ จดหมายจากบริษัทสเปน ซึ่งในซองนั้นคือ “วิมัยบัตร” (International Reply Coupon – IRC) นั่นเอง จากการตรวจสอบข้อมูลเล็กน้อย เขาก็มองเห็นช่องโหว่ของสินค้าชนิดนี้ ที่อาจจะทำเงินให้กับเขาได้

การต้มตุ๋นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในอเมริกา กำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว….

 

วิมัยบัตร (IRC) คืออะไร

 

ในช่วงปี 1920 นั้นโลกยังไม่มีอินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่โทรศัพท์อย่างในปัจจุบัน วิธีการติดต่อที่เป็นที่นิยมที่สุดก็คือการส่งจดหมาย แต่การส่งจดหมายไปหาญาติพี่น้องหรือเพื่อนที่อยู่ต่างประเทศนั้นก็อาจจะเป็นการสร้างภาระให้กับผู้ตอบได้เช่นกัน เพราะการตอบจดหมายก็จำเป็นต้องใช้เงิน (ซึ่งอาจจะแพงกว่า ขึ้นอยู่กับประเทศ) ในการตอบกลับ ดังนั้นสินค้าที่มีชื่อว่า International Reply Coupon หรือ IRC จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี 1906 โดยสินค้าชนิดนี้ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับจดหมายข้ามประเทศทั่วไป เพียงแต่มูลค่าของคูปองนี้ได้รวม “ค่าส่งจดหมายตอบกลับมายังผู้ส่ง” ไว้แล้ว ทำให้ผู้รับจดหมายสามารถส่งจดหมายตอบกลับได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายนั่นเอง

 

วิมัยบัตร (International Reply Coupon – IRC)

 

จุดบอดของสินค้าชนิดนี้ก็คือ ในขณะที่นายชาร์ลค้นพบนั้น คูปอง IRC ในอิตาลีมีราคาถูกกว่าในอเมริกามาก เนื่องมาจากเงินเฟ้อที่เกิดจากสงครามโลกครั้งที่ 1 นายชาร์ลจึงออกแบบธุรกิจลงทุนชนิดหนึ่งขึ้น โดยเขาจะซื้อคูปอง IRC ในประเทศที่มีราคาถูก และนำกลับมาขายในอเมริกาในราคาแพงกว่า และส่วนต่างนั้นก็คือกำไร ซึ่งเขาบอกว่าส่วนต่างนั้นทำให้มีกำไรมากถึง 400% อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในทางทฤษฎีแล้วการทำธุรกิจรูปแบบนี้สามารถสร้างกำไรได้ แต่ในการทำจริงนั้นไม่ราบรื่นอย่างที่คิด เพราะค่าใช้จ่ายในการขนส่ง รวมถึงระยะเวลาในการขนส่งนั้นทำให้ไม่สามารถทำจริงได้ แต่ถึงแม้จะทำจริงไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะสิ่งที่นายชาร์ลต้องการไม่ใช่ธุรกิจ ….แต่เป็นการหลอกลวง แค่มัน “เป็นไปได้” ก็มากเกินพอ

 

จุดเริ่มต้นของ “การลงทุน”

 

หลังจากการค้นพบ IRC และหนทางทำกำไรจากมันได้ไม่นาน นายชาร์ลก็เริ่มต้นการลงุทนของเขา โดยเริ่มจากการชักชวนเพื่อนให้ร่วมลงทุนในธุรกิจที่ “กำลังเกิดใหม่” โดยสัญญาว่าจะเพิ่มเงินลงทุนให้ 50% ภายใน 3 เดือน ซึ่งผู้ลงทุนรุ่นแรกก็ได้เงินตามที่สัญญาไว้ คือได้กำไรถึง 750 ดอลลาร์ จากเงินลงทุน 1,250 ดอลลาร์

จากนั้นไม่นานเขาก็ตั้งบริษัทของตัวเอง และมีนักลงทุนเพิ่มขึ้นไม่ขาดสาย และยังได้จ้างนายหน้าเพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยมีการจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้อย่างงาม ภายในเวลาไม่ถึงปีก็มีเงินลงทุนในธุรกิจของนายชาร์ลนับล้านดอลลาร์ นักลงทุนมากมายนำเงินเก็บทั้งชีวิตเข้าลงทุน บางคนถึงกับจำนองบ้านเพื่อนำเงินมาลงทุนเลยทีเดียว นอกจากนั้นนักลงทุนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ถอนเงินออกมา แต่นำเงินที่ได้เพิ่มมานั้นลงทุนกลับเข้าไปอีก จึงเห็นได้ว่าในความเป็นจริงแล้วเงินในระบบแทบจะไม่ได้ถูกจ่ายเป็นเงินปันผลเลย และในกรณีที่มีคนถอนเงินออก นายชาร์ลก็เพียงแต่นำเงินจากนักลงทุนหน้าใหม่จ่ายเป็นเงินปันผลให้ไปเท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องทำธุรกิจใด ๆ เลย

อย่างไรก็ตาม นายชาร์ลก็ไม่ใช่นักต้มตุ๋นที่รอบคอบมากนัก เขาใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟู่ฟ่า ทั้งการซื้อบ้านในเล็กซิงตัน พร้อมเครื่องปรับอากาศและสระว่ายน้ำ (ซึ่ง “โคตรหรู” ในสมัยนั้น และอาจจะสมัยนี้ด้วย) และออกเงินพาแม่ของเขามายังอเมริกาอย่างหรูหราที่สุด

 

จุดจบของ “การต้มตุ๋น”

 

แน่นอนว่าธุรกิจที่ “ผิดธรรมชาติ” ของนายชาร์ลทำให้มีผู้ที่ระแวงเขาเป็นจำนวนมาก นักเขียนในบอสตันคนหนึ่งได้เขียนถึงนายชาร์ลว่าเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะสามารถปันผลได้ในเวลาที่รวดเร็วขนาดนั้น ซึ่งก็ทำให้นักเขียนผู้นี้ถูกฟ้อง และเสียค่าปรับถึง 500,000 ดอลลาร์ให้นายชาร์ล แต่ก็ได้ทำให้นักลงทุนบางคนถอนตัวไป แม้ว่าหลังจากนั้นไม่นานจะมีการเขียนบทความหนึ่งลงในหนังสือพิมพ์ Boston Post

โดยกล่าวว่าธุรกิจของนายชาร์ลนั้นจ่ายเงินปันผลได้ถึง 50% ในเวลาเพียง 45 วัน ในขณะที่ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยได้เพียง 5% ต่อปีเท่านั้น หนึ่งวันหลังจากบทความถูกตีพิมพ์ ก็มีนักลงทุนนับพันต้องการลงทุนในธุรกิจของนายชาร์ล แต่ในวันที่บทความถูกตีพิมพ์นั้น นายชาร์ลก็ต้องเข้าพบกับเจ้าหน้าที่จากรัฐบาลที่ต้องการจะตรวจสอบบัญชี ซึ่งเขาก็สามารถหลบเลี่ยงการตรวจสอบไปได้โดยการเสนอว่าจะหยุดรับเงินลงทุนเพิ่มในระหว่างที่มีการตรวจสอบ ทำให้การตรวจสอบชะงักไปพักหนึ่ง เนื่องจากเขาไม่เคยบันทึกบัญชีเอาไว้ (เพราะเป็นการต้มตุ๋น)

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นานทางหนังสือพิมพ์ก็เริ่มขุดคุ้ยเรื่องการทำธุรกิจนี้ โดยมีการว่าจ้างนักวิเคราะห์ด้านการเงิน Clarence Barron โดยได้กล่าวว่า การทำธุรกิจของนายชาร์ลนั้นจ่ายเงินปันผลจำนวนมากภายในเวลาที่เร็วอย่างเหลือเชื่อ แต่ตัวนายชาร์ลเองนั้นกลับไม่ลงทุนในธุรกิจของตนเอง และการลงดาบขั้นสุดท้ายก็คือ การกล่าวว่า หากธุรกิจของนายชาร์ลทำงานอยู่จริงตามที่อ้าง จะต้องมีคูปอง IRC ถูกใช้อยู่ในปัจจุบันถึง 160 ล้านใบ ในขณะที่มีการใช้จริงเพียง 27,000 ใบเท่านั้น การวิเคราะห์นี้ทำให้เกิดความแตกตื่นขึ้นอย่างมาก โดยนายชาร์ลต้องจ่ายเงินให้นักลงทุนถึง 2 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเพียง 3 วันเท่านั้น

หลังจากนั้นธุรกิจก็ถูกตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง โดยเจ้าหน้าที่จากรัฐแมสซาชูเซตต์ต้องตรวจสอบบัญชีของบริษัทอย่างยากลำบาก เพราะบัญชีของบริษัทไม่มีอะไรเลยนอกจากชื่อของนักลงทุน (เพราะไม่ได้ทำธุรกิจจริง) ในระหว่างนั้นนายชาร์ลก็ได้จ้างเอเย่นต์ผู้หนึ่งเพื่อปิดข่าว แต่การว่าจ้างนี้กลับทำให้เรื่องเลวร้ายยิ่งขึ้น เพราะเอเย่นต์รายนี้ กลับยิ่งสงสัยในตัวธุรกิจนี้

ในปลายเดือนกรกฎาคมปี 1920 เขาก็ได้ค้นพบเอกสารหลายฉบับที่บ่งชี้ว่าธุรกิจของนายชาร์ลนั้นน่าจะเป็นเพียงการนำเงินของคนหนึ่งมาจ่ายให้กับนักลงทุนอีกคนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเรื่องอื้อฉาวนี้ก็นำไปสู่การตรวจสอบหนี้สิน บัญชีธนาคารของนายชาร์ล และจุดสิ้นสุดของการต้มตุ๋นครั้งนี้ในวันที่ 11 สิงหาคม 1920 นั่นเอง

ซึ่งจากการวิเคราะห์ พบว่าการต้มตุ๋นครั้งนี้หลอกเงินจากนักลงทุนไปได้ถึง 20 ล้านดอลลาร์ โดยสามารถเทียบเป็นเงินในปัจจุบันได้ประมาณ 225 ล้านดอลลาร์

 

แม้จะดูเหมือนว่าการต้มตุ๋นของนายชาร์ลเมื่อปี 1920 นั้นน่าจะดูออกได้ง่าย เพราะการจ่ายเงินที่เกินจริง หรือแม้แต่การใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายของเจ้าตัวก็ตาม แต่ก็มีผู้หลงเชื่อเป็นจำนวนมาก แล้วถ้ามีการทำให้แนบเนียนยิ่งขึ้นล่ะจะเป็นอย่างไร?

 

ต่อไปจะขอแนะนำนักต้มตุ๋นอีกคนหนึ่งที่ใช้กลยุทธ์แบบเดียวกันนี้ แต่สามารถทำเงินได้มากกว่าอย่างเทียบกันไม่ติด และที่สำคัญยังเป็นการต้มตุ๋นในยุคปัจจุบันเสียด้วย โดยการต้มตุ๋นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นี้ถูกเปิดเผยในปี 2008 รวมระยะเวลาในการต้มตุ๋นทั้งหมดกว่า 13 ปี และเป็นเรื่องราวตามหน้าหนังสือพิมพ์มากมาย มิหนำซ้ำการต้มตุ๋นครั้งนี้ยังถูกเปิดเผยเพราะผู้ก่อการสารภาพเองอีกต่างหาก โดยที่หน่วยงานของอเมริกาไม่สามารถตามกลิ่นของเขาได้เลย ชื่อของนักต้มตุ๋นฝีมือเยี่ยมผู้นี้คือ เบอร์นาร์ด เมดอฟฟ์ (Bernard Madoff)


 

2. การต้มตุ๋นครั้งประวัติศาสตร์ของนายเบอร์นาร์ด Bernard 

 

 

บริษัท Bernard Securities ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1960 โดยเริ่มต้นจากการเป็นบริษัทซื้อขายหุ้นราคาถูก ซึ่งในเวลาต่อมามีการแข่งขันกับบริษัทที่เป็นสมาชิกของตลาดหุ้นนิวยอร์ค จึงมีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน และระบบนี้ก็มีการพัฒนาต่อยอดมาจนกลายเป็น NASDAQ (ตลาดหุ้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอเมริกา) ซึ่งบริษัท Bernard Securities ก็เป็นบริษัทหนึ่งในตลาดหุ้น NASDAQ นี้ด้วย

ในการต้มตุ๋นของนายเบอร์นาร์ดนี้มีกลยุทธ์ที่ซับซ้อนมากมาย และแนบเนียนกว่ามาก โดยในการลงทุนนั้นผู้ลงทุนจะไม่ได้เงินปันผลที่มากและรวดเร็วเกินจริงอย่างนายชาร์ล พอนซี  แต่เป็นเงินปันผลในระดับที่ไม่ผิดธรรมชาติ คือประมาณ 10% ต่อปี ซึ่งเขาจงใจให้เงินปันผลในระดับที่ใกล้เคียงกับ S&P 500 เพื่อปกปิดร่องรอยของเขานั่นเอง (S&P 500 คือรายชื่อบริษัทสำคัญในอเมริกา 500 บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกา มีลักษณะคล้าย Set 50 และ Set 100 ในไทย) และยังใช้เทคนิคมากมายเพื่อปกปิดร่องรอยเพิ่มเติม เช่น เขาจะขายหุ้นทั้งหมด เพื่อให้มีการรายงานเฉพาะจำนวนเงินในธุรกิจไปยังหน่วยงานรัฐ นักลงทุนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลการลงทุนได้ด้วยตัวเอง แต่จะได้รับจดหมายแจ้งข้อมูลทางการเงินและเงินปันผลเท่านั้น

นอกจากนี้ เขายังเลือกเป้าหมายอย่างรัดกุม โดยนักลงทุนนั้นมีทั้งกองทุน มูลนิธิ ธนาคาร นักลงทุนทั่วไป รวมไปจนถึงคนดังอย่างเควิน เบคอน และสตีเวน สปีลเบิร์ก แต่จุดหนึ่งที่เหมือนกัน คือเป็นนักลงทุนชั้นดี จากการที่เขาเลือกเป้าหมายอย่างเข้มงวด ทำให้นักลงทุนไม่ค่อยอยากจะถอนเงินออกจากระบบของเขา เพราะกลัวว่าจะกลับเข้าไปใหม่ไม่ได้อีก

 

แผนการของ นายเบอร์นาร์ด เมดอฟฟ์

 

นายเบอร์นาร์ดสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจของเขาได้โดยการเตรียมเงินให้ทันที เมื่อลูกค้าของเขาต้องการถอนเงิน  ซึ่งเมื่อมีการถอนเงินได้ตามที่ต้องการตลอดเวลา แถมเงินปันผลที่ได้ก็ไม่ผิดปกติ ลูกค้าของเขาจึงไม่มีเหตุผลใด ๆ ให้ระแวงเลย แม้จะมีข้อสงสัยว่าธุรกิจของเขาไม่น่าจะจ่ายเงินปันผลได้สูงเท่าที่เขาทำ แต่หน่วยงานตรวจสอบของสหรัฐ (SEC) ก็ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างจริงจัง นอกจากนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เขาเป็นที่ไว้วางใจก็คือ ตัวเขาเองที่เป็นนักการเงินอาวุโสที่มีฝีมือมาก รวมถึงเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้ง NASDAQ นั่นเอง

 

จุดเด่นที่สุดในการต้มตุ๋นของเขา คือการก่อตั้งบริษัทในปี 1960 โดยก่อนหน้านั้นมีการทำงานอยู่จริง จนในการไต่สวนคดีเมื่อปี 2008 เขาจึงสารภาพว่าบริษัทของเขาไม่ได้ซื้อขายหุ้นจริง ๆ มาตั้งแต่ช่วงปี 1990 แล้ว แต่ชื่อเสียงที่มีมานาน รวมถึงการปฏิบัติงานจริงที่เคยมี ก็ทำให้หลุดพ้นจากข้อสงสัยได้เป็นอย่างดี นักลงทุนและหน่วยงานตรวจสอบต้องคิดไม่ถึงแน่ ว่าบริษัทที่ตั้งมาแล้วกว่า 30 ปี อยู่ ๆ ก็จะเลิกทำงาน ไปทำการต้มตุ๋นแทน ซึ่งจุดนี้แตกต่างจากการต้มตุ๋นแบบพอนซีที่มีมาก่อน คือจากแบบเดิมที่ชักชวนให้ทำการลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีจริง ธุรกิจของนายมาดอฟนั้น “มีจริง” แต่ไม่ได้ทำงานจริง (อีกต่อไป) แม้ว่าจะมีจุดผิดสังเกตอยู่บ้าง เช่นการจ่ายเงินปันผลคงที่อย่างผิดปกติ ในขณะที่เงินปันผลตามปกติจะเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะเงินในตลาด แต่ก็สามารถรอดพ้นจากหูตาของเจ้าหน้าที่รัฐไปได้

 

จุดจบ ของ นายเบอร์นาร์ด เมดอฟฟ์

 

แต่จุดจบของการต้มตุ๋นครั้งนี้ก็มาถึงในปี 2008 เมื่อเกิดปัญหาทางการเงินทั่วประเทศในอเมริกา ภาวะถดถอยของตลาดการเงิน ทำให้นักลงทุนต้องการถอนเงินออกจากธุรกิจของเขาถึง 7พันล้านดอลลาร์ เขาจึงจำเป็นต้องหานักลงทุนรายใหม่เพื่อนำเงินมาจ่าย ซึ่งรวมถึงเพื่อนเก่าของเขาอย่าง Carl J. Shapiro ด้วย แต่ถึงแม้จะพยายามอย่างมาก ธุรกิจต้มตุ๋นของเขาก็มาถึงจุดจบเนื่องจากไม่สามารถหาเงินมาจ่ายนักลงทุนรายเก่าได้นั่นเอง

ซึ่งเมื่อเขาเห็นจุดจบ เขาก็ทิ้งทวนเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการจ่ายโบนัสให้พนักงานในบริษัทของเขาถึง 170 ล้านดอลลาร์ จากเงิน 200 ล้านดอลลาร์ที่บริษัทมีอยู่ในขณะนั้น ทำให้ลูกชายทั้ง 2 คนของเขาต้องถามว่า ทั้ง ๆ ที่บริษัทไม่มีเงินจะจ่ายให้นักลงทุน ทำไมถึงสั่งจ่ายโบนัสจำนวนมหาศาลอย่างนี้ และทำให้ตัวนายเบอร์นาร์ดสารภาพกับลูกชายของเขาเอง ว่าทั้งหมดเป็นเพียง “การโกหกครั้งใหญ่”

และนายเบอร์นาร์ดก็ถูกจับกุมในปีนั้น โดยผู้ที่แจ้งความก็คือลูกชายทั้ง 2 คนของเขานั่นเอง ประเมินความเสียหายในการต้มตุ๋นของเขาแล้ว มีมูลค่าถึง 65,000 ล้านดอลลาร์ มีผู้เสียหายเป็นมูลนิธิ ธนาคาร กองทุนจากทั่วโลกมากมาย มีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยกว่า 3 รายฆ่าตัวตาย รวมถึงลูกชายคนโตของเขาด้วย จัดเป็นการต้มตุ๋นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก และเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกาอีกด้วย ส่วนตัวนายเบอร์นาร์ดนั้นถูกพิพากษาจำคุก 150 ปี มากที่สุดเท่าที่กฏหมายของสหรัฐกำหนดไว้

 

จากกรณีของนายเบอร์นาร์ด จะเห็นได้ว่าการต้มตุ๋นรูปแบบพอนซีนั้นไม่ได้จำกัดวงอยู่เพียงยุคเก่าเท่านั้น แม้แต่ในตลาดหุ้นหรือยุคอินเตอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดายก็ยังไม่รอดพ้นไปได้เช่นกัน หากไม่เกิดภาวะถดถอยทางการเงินจนมีการถอนเงินเป็นจำนวนมาก การต้มตุ๋นครั้งนี้อาจไม่ถูกเปิดเผยเลยก็เป็นได้

ต่อไปจะขอเล่าถึงกลยุทธ์แบบพอนซีที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยบ้าง โดยคดีนี้มีผู้เสียหายนับหมื่นคน และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการบัญญัติพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนปี พ.ศ.2527 อีกด้วย ชื่อของคดีนี้คือ “คดีแม่ชม้อย” ที่มีการต้มตุ๋นในช่วงปี 2520 – 2528 นั่นเอง


 

3. คดีแม่ชม้อยในตำนาน

 

แม่ชม้อย หรือนางชม้อย ทิพย์โส ได้เริ่มต้นการต้มตุ๋นครั้งนี้ในปี 2520 โดยตัวแม่ชม้อยนั้นได้รับการชักชวนจากเพื่อนที่ทำการค้าน้ำมันอยู่ก่อน คือ นายประสิทธิ์ จิตต์ที่พึ่ง ให้ร่วมลงทุนค้าน้ำมัน ซึ่งเมื่อทำแล้วได้กำไรจริง แม่ชม้อยจึงเริ่มชักชวนผู้อื่นให้เข้ามาทำธุรกิจนี้ด้วย แม่ชม้อยได้จัดตั้งบริษัทขึ้นมา มีชื่อว่า “ปิโตรเลียม แอนด์ มารีน เซอร์วิส จำกัด” โดยหน้าฉากกล่าวว่าทำธุรกิจการค้าน้ำมันทุกชนิด ทั้งในและนอกประเทศ

 

จุดเริ่มต้น นางชม้อย ทิพย์โส – แม่ชม้อย

 

แม่ชม้อยได้เริ่มชักชวนให้ผู้คนร่วมลงทุนในธุรกิจนี้ โดยรับกู้ยืมเงินในลักษณะคิดเป็นคันรถบรรทุก คันละ 160,500 บาท และจะได้กำไร 12,000 บาทต่อเดือน (6.5%) เมื่อครบปี ผู้ลงทุนจะได้กำไรถึง 78% ของเงินต้น  ในเดือนธันวาคมของทุกปีจะหักกำไรไว้ร้อยละ 4 เพื่อจ่ายค่าภาษีการค้า และยังมีการคิดเงินเป็นล้อสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยอีกด้วย โดยแบ่งเป็น 1 ใน 4 ของราคา 1 คันรถบรรทุก แม่ชม้อยจ่ายเงินดอกเบี้ยอย่างตรงเวลา และหากต้องการถอนก็สามารถถอนได้ ทำให้สามารถหลอกลวงได้อย่างแนบเนียน นอกจากนี้ตัวแม่ชม้อยเองก็ยังทำงานในการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จึงทำให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งในช่วงเวลาระหว่างการต้มตุ๋นนี้มีนักลงทุนถูกหลอกกว่าหมื่นราย และมีเงินหมุนเวียนในระบบถึงกว่า 10,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การต้มตุ๋นครั้งนี้ก็มีจุดจบเช่นเดียวกับครั้งอื่น ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต คือเริ่มต้นจากความผิดปกตินั่นเอง ธุรกิจแม่ชม้อยถูกตรวจสอบโดยกรมสรรพากร และพบว่ามีบัญชีธนาคารอยู่ 2 บัญชี คือบัญชีออมทรัพย์และกระแสรายวัน และได้ทำสัญญาเอาไว้ว่า ให้โอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ไปยังบัญชีกระแสรายวัน เมื่อมีการสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินออกจากบัญชีกระแสรายวัน จากการตรวจสอบรายรับรายจ่ายเพิ่มเติมก็พบว่าตัวแม่ชม้อยนั้นไม่ได้ทำธุรกิจอะไรที่น่าจะทำให้จ่ายดอกเบี้ยได้ในอัตราสูงถึงขนาดนั้น  การที่แม่ชม้อยสามารถจ่ายได้ก็โดยการใช้กลยุทธ์แบบพอนซีนั่นเอง โดยการนำเงินลงทุนจากนักลงทุนหน้าใหม่ไปจ่ายให้กับนักลงทุนเก่า และจุดจบก็มาถึงในรูปแบบมาตรฐาน คือเมื่อไม่มีนักลงทุนหน้าใหม่ ก็จะไม่มีเงินดอกเบี้ยจะจ่าย เมื่อเงินที่มีอยู่เดิมหมดก็จะไม่มีจ่ายอีกต่อไป

เมื่อมีการตรวจสอบ นักลงทุนก็เริ่มระแวง ในช่วงปี 2527 – 2528 นั้นธุรกิจต้มตุ๋นนี้ก็จบสิ้นลง เนื่องจากมีนักลงทุนต้องการถอนเงินเป็นจำนวนมาก ทำให้แม่ชม้อยไม่สามารถจ่ายเงินได้ทัน จึงประกาศของดจ่ายเงินชั่วคราว และหอบเงินที่ยังมีเหลือหลบหนีกลับบ้านเกิดของตน ในที่สุดเมื่อนักลงทุนไม่ได้เงินคืนตามที่แม่ชม้อยสัญญา จึงมีการร้องทุกข์ไปยังกองปราบปราม และนำไปสู่การขุดคุ้ย รวมถึงจับกุมนางชม้อยในที่สุด รวมความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการต้มตุ๋นครั้งนี้มีมากถึง 4,000 ล้านบาท ตัวนางชม้อยและพรรคพวกนั้นถูกพิพากษาจำคุก 20 ปี แต่ก็ได้รับการผ่อนผันโทษ และออกจากคุกในปี 2536

จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์แบบพอนซีนั้น จุดเด่นที่สุดคือ “สนับสนุนให้ลงทุน” โดยที่ผู้ลงทุนไม่ต้องทำอะไร เพียงนำเงินมาฝากไว้ ก็จะได้เงินปันผลไปแบบสบาย ๆ ซึ่งในการต้มตุ๋นแบบปิรามิดนั้นก็จะมีลักษณะคล้ายกันกับกลยุทธ์แบบพอนซี แต่แตกต่างกันตรงผู้ที่ชักชวนให้เข้าทำธุรกิจ รวมถึงบทบาทของสมาชิกนั่นเอง

การต้มตุ๋นแบบปิรามิด (Pyramid Scheme)

 

การต้มตุ๋นแบบปิรามิดนั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มีการใช้งานค่อนข้างบ่อย โดยลักษณะเด่นจะมีลักษณะคล้ายกับการขายตรงอย่างมาก โดยแบบปิรามิดนั้นจะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ

 

     1. สมาชิกรุ่นแรกจะไปชักชวนให้สมาชิกใหม่ร่วมกันลงทุน และให้สมาชิกใหม่นั้นไปหาสมาชิกอีกต่อหนึ่งไปเรื่อย ๆ ในรูปแบบนี้จะเป็นเพียงการร่วมลงทุนเท่านั้น โดยไม่มีสินค้ามาขายแต่อย่างใด เรียกว่า “ปิรามิดเปลือย” (Naked Pyramid)

   2. สมาชิกรุ่นแรกจะได้เงินจากการขาย “ชุดเริ่มต้น” (Starter kit) และได้เงินมากขึ้นเมื่อดาวน์ไลน์ขายชุดเริ่มต้นให้กับผู้อื่นต่อ โดยผู้ชักชวนนั้นไม่จำเป็นต้องขายสินค้าเพื่อให้ได้กำไร ซึ่งธุรกิจรูปแบบนี้มักจะเกิดขึ้นเพื่อขายสินค้าที่ไม่น่าสนใจ หรือได้กำไรน้อย จึงต้องหารายได้หลักจากการขายชุดเริ่มต้นแทน

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจประเภทนี้ก็มักจะอยู่ได้ไม่นาน เมื่อทุก ๆ คนต้องการขายสินค้า (ที่ไม่น่าสนใจ) ให้กับคนอื่น ๆ และไม่มีใครเหลือให้ชักชวนมาเป็นดาวน์ไลน์ได้อีก

 

ในความเป็นจริงแล้ว การต้มตุ๋นแบบปิรามิดนั้นจะไม่สามารถทำกำไรได้เลย หากดาวน์ไลน์ชั้นล่างไม่ขาดทุน ซึ่งจุดที่ผิดกฏหมายนั้นก็มาจากการทำธุรกิจที่ต้องมีคนจำนวนมากขาดทุน เพื่อให้คนจำนวนน้อยได้กำไรนั่นเอง เพราะธุรกิจแบบปิรามิดจะไม่สามารถเติบโตได้ในระดับที่เพียงพอต่อการทำให้สมาชิกทั้งหมดได้กำไร หากสมมติให้สมาชิก 1 คนต้องหาดาวน์ไลน์ให้ได้ 8 คน สมาชิกในชั้นที่ 8 จะต้องหาดาวน์ไลน์ถึง 1.5 ล้านคน และอีกเพียงไม่กี่ชั้นก็จะเกินจำนวนประชากรบนโลก ซึ่งสมาชิกชั้นล่างนี้เองจะเป็นผู้ที่ขาดทุน เพื่อให้สมาชิกในชั้นบนได้กำไร (ซื้อชุดเริ่มต้นไปแล้วแต่ไม่มีใครให้ขายต่อเพื่อเอากำไร)

 

                ในการต้มตุ๋นแบบปิรามิดนั้นแม้จะมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับแบบพอนซี คือต้องหาสมาชิกใหม่เพื่อให้สมาชิกรุ่นแรกมีกำไร แต่มีความแตกต่างกัน คือ ในกลยุทธ์แบบพอนซีนั้นผู้ที่จะจัดหาสมาชิกใหม่คือเจ้าของบริษัทเพียงคนเดียว ในขณะที่กลยุทธ์แบบปิรามิด สมาชิกแต่ละคนจะเป็นฝ่ายไปตามหาสมาชิกใหม่ด้วยตนเอง

 

จำนวนดาวน์ไลน์ที่จำเป็นต่อการต้มตุ๋นแบบปิรามิด กรณีสมาชิก 1 คนหาดาวน์ไลน์ 6 คน

 

แล้วแตกต่างจากการขายตรง (MLM) อย่างไร?

 

การขายตรง (MLM – Multi Level Marketing) คือ รูปแบบการทำธุรกิจประเภทหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกลยุทธ์แบบปิรามิดมาก โดยบริษัทในไทยที่เรารู้จักกันดีนั้นก็มี Amway และ Herbalife เป็นต้น โดยบริษัทแรกที่ทำการตลาดรูปแบบนี้ก็คือ Amway นั่นเอง สมาชิกจะทำการขายสินค้าให้กับผู้อื่น รวมไปถึงชักชวนให้เข้าเป็นสมาชิกขายตรง เพื่อให้ได้กำไร

หากดูเผิน ๆ จะเห็นว่าดูคล้ายกับการต้มตุ๋น คือมีการหาดาวน์ไลน์ และสร้างกำไรจากการมีลูกทีมจำนวนมากได้ แต่ในปี 1979 ก็มีการประกาศว่าการทำธุรกิจรูปแบบนี้ไม่ผิดกฏหมายแต่อย่างใด จึงทำให้มีบริษัทอื่นมากมายทำธุรกิจเลียนแบบ Amway ซึ่งจุดแตกต่างระหว่างการขายตรง กับการต้มตุ๋นแบบปิรามิดก็ คือ

1.การขายตรงไม่ให้เงินแก่สมาชิก เพียงเพราะหาสมาชิกใหม่ได้

2.การจะมีรายได้ในธุรกิจขายตรงได้ มีเพียงขายสินค้าให้กับผู้บริโภค หรือบริหารทีมขายเท่านั้น โดยหัวหน้าทีมจะได้เปอร์เซ็นต์จากการขายของลูกทีมด้วย (ยังไงก็ต้องขายสินค้าถึงจะได้เงิน)

3.การขายตรงจะไม่มีการบังคับให้ซื้อชุดเริ่มต้นเพื่อเป็นสมาชิก หรือต้องจ่ายเงินค่าสมาชิก

4.การขายตรงจะเน้นการขายสินค้า ไม่ใช่การหาสมาชิกเพิ่ม

ในการธุรกิจรูปแบบนี้ สมาชิกชั้นล่างไม่จำเป็นต้องขาดทุนเพื่อให้ชั้นบนได้กำไร เพราะหากไม่ขายก็จะไม่ได้เงิน และถึงแม้จะไม่หาดาวน์ไลน์ก็ไม่มีผลกระทบ เพราะสามารถซื้อใช้เองก็ได้ ซึ่งรายได้ที่ได้จากการซื้อสินค้าใช้เองก็จะกลายเป็นส่วนลดสำหรับสมาชิกไป

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นการต้มตุ๋นหรือการลงทุนอย่างสุจริต?

 

การจะแยกการต้มตุ๋นออกจากการลงทุนอย่างสุจริตเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เช่นในกรณีของนายเบอร์นาร์ดนั้นแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญหรือกองทุนข้ามชาติก็ยังหลงกลได้จากการวางแผนและการปกปิดอย่างแนบเนียน โดยมากมักจะลงมืออย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม ในการระมัดระวังตัวจากการต้มตุ๋นก็สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

1.ระมัดระวังการลงทุนที่จำกัดเวลา เหล่านักต้มตุ๋นมักจะทำการเสนอข้อเสนอที่ดูดีให้ ซึ่งพร้อมกันนั้นก็จะกดดันเพิ่มด้วยการบอกว่า “เป็นข้อเสนอที่มีในช่วงเวลานี้เท่านั้น” เพื่อไม่ให้สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือรู้สึกถึงความผิดปกติได้ทันเวลา

2.ระมัดระวังการลงทุนที่ดูดีเกินจริง ไม่มีการลงทุนใดในโลกนี้ที่ไม่มีความเสี่ยง การบอกว่า “ไม่มีความเสี่ยง” “มีแต่ได้” หรือการเสนอเงินตอบแทนที่สูงผิดปกติ ล้วนแต่เป็นสัญญาณเตือนว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากล

3.เอาใจใส่การลงทุน ดังที่เห็นในกรณีของนายเบอร์นาร์ด การต้มตุ๋นไม่จำเป็นต้องเสนอผลตอบแทนที่ดูดีเสมอไป เพียงแค่ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือก็มากเพียงพอ จุดสังเกตเดียวที่พอจะเห็นได้ก็คือการจ่ายเงินปันผลที่คงที่และตรงเวลาอย่างผิดธรรมชาติเท่านั้น จำไว้ว่าเงินที่ได้จากการลงทุนจะแปรปรวนตามสภาพตลาดการเงินในขณะนั้น

4.ใส่ใจข้อมูล  หากเป็นนักต้มตุ๋นที่มีฝีมือ การหาข้อมูลอาจจะช่วยไม่ได้มากนัก แต่ก็ยังช่วยลดความเสี่ยงได้มากกว่าการกระโดดเข้าหาโอกาสที่ดูดีทันทีโดยไม่คิดอะไรเลย

5.ลงทุนในหลายธุรกิจ อย่าลงทุนลงในธุรกิจเดียวด้วยเงินทั้งหมด เผื่อเส้นทางสำหรับหนีไว้ด้วยการลงทุนในหลายธุรกิจ และลงทุนในธุรกิจที่ไว้ใจได้ด้วย เพื่อไม่ให้สิ้นเนื้อประดาตัวหากตกเป็นเหยื่อของการต้มตุ๋น

6.ตรวจสอบให้ดีว่าธุรกิจนั้นขายสินค้า หรือให้หาสมาชิกใหม่ หากได้เงินจากการหาดาวน์ไลน์แทนที่จะขายสินค้า แสดงว่านั่นคือการต้มตุ๋น

7.ระวังการเข้าเป็นสมาชิกของการทำธุรกิจใด ๆ การต้มตุ๋นแบบปิรามิดนั้นมักจะคิดค่าเข้าเป็นสมาชิกจำนวนมาก รวมไปถึงค่าฝึกฝนการขาย ค่าชุดเริ่มต้น และค่าสมาชิกรายปี

การลงทุนมีความเสียง แต่การลงทุนโดยที่ไม่มีความรู้นั้นมีความเสี่ยงมากที่สุด ก่อนลงทุนในทรัพย์สิน ตัวไหน ควรศึกษาให้แน่ใจก่อนทุกครั้ง




credit: http://amonjou.blogspot.com, http://money.howstuffworks.com/pyramid-scheme.htmhttp://money.howstuffworks.com/ponzi-scheme.htm

บิทคอยน์ (Bitcoin) คืออะไร ขุดยังไง เล่นแล้ว ได้กำไรจริงมั้ย ?

บิทคอยน์ (Bitcoin) คืออะไร ใครเป็นผู้คิดค้น มีที่มาที่ไปอย่างไร เล่นบิทคอยน์แล้วได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ และทำให้รวยจริงมั้ย?

ทำไมคนถึงหันมาสนใจกันมาก เรามาเริ่มทำความรู้จักกับบิทคอยน์ ไปพร้อม ๆ กัน

 

“บิทคอยน์ (Bitcoin)” เป็นกระแสที่คนไทยและทั่วโลกให้ความสนใจอย่างมากในตอนนี้  เพราะมีการพูดถึง กันเป็นวงกว้างว่า บิทคอยน์อาจจะเปลี่ยนระบบการเงินของโลกไปอย่างสิ้นเชิง ผู้เขียนต้องบอกก่อนว่าบิทคอยน์ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เพราะถูกคิดค้นมาตั้งแต่เกือบ 8 ปีมาแล้ว แต่พึ่งจะมาได้รับความนิยมในปีนี้ 

ในช่วง 2 ปีที่แล้ว การพูดถึงเรื่องของบิทคอยน์ bitcoin เป็นเรื่องการ หลอกลวง แชร์ลูกโซ่ เป็นตลาดมืด บิทคอยน์เชื่อถือไม่ได้ หลายฝ่ายโจมตีนักลงทุนในบิทคอยน์ แต่กลับกัน ในปัจจุบันบิทคอยน์ bitcoin ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นเหรียญดิจิตัล (Crypto Currency) ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์หลายอย่าง และตอนนี้ มีมูลค่าแพงที่สุดในโลก!

ในเมืองไทย บิทคอยน์เป็นกระแสดังมาก เนื่องจากมี Hacker ได้ปล่อย Virus เรียกค่าไถ่ที่ชื่อว่า  “WannaCry” ซึ่งได้เรียกเก็บเงินกับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ติด Virus เป็น บิทคอยน์ Bitcoin นั่นเอง ทำให้บิทคอยน์นี้เป็นที่พูดถึงกันอย่างมาก จนเมื่อเดือนสิงหาคม 2017  นี้ มูลค่าบิทคอยน์พุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ด้วยราคา 3400 USD

(1 BTC = 3300 USD ข้อมูลจาก https://www.coindesk.com/ 9 สิงหาคม 2017 )

(1 BTC = 571 USD ข้อมูลจาก https://www.coindesk.com/ 9 สิงหาคม 2016 )
 หลายคนคงเริ่มสงสัยแล้วว่า บิทคอยน์ คืออะไร มาจากไหน? ใครเป็นผู้คิดค้น?  มีความสำคัญยังไง? ขุดยังไง? เล่นแล้ว ได้กำไรจริงมั้ย? วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันเลย

 

บิทคอยน์ (Bitcoin) มาจากไหน? เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?

บิทคอยน์ คือสกุลเงินดิจิตอลที่คิดค้นขึ้นมาโดยทีมงานของโปรแกรมเมอร์ที่มีนามแฝงว่า ซาโตชิ นากาโมโตะ ที่ต้องการสร้างสกุลเงินที่เป็นสกุลกลางของโลก ไม่ต้องผ่านธนาคารกลาง ยังไม่ต้องกังวลเรื่องการตรวจสอบบัญชี หรือโดนอายัดเงิน ถูกใจบรรดาธุรกิจใต้ดิน ทั้งหลาย ที่ไม่ต้องระบุตัวตน เวลาโอน และที่สำคัญค่าธรรมเนียมการโอนถูกกว่าระบบธนาคาร  มีความรวดเร็ว สามารถโอนข้ามทวีปภายในไม่เกิน 30 นาที

ผู้เขียนเคยโอนเบิทคอยน์ จากไทยไปอเมริกาใช้เวลาประมาณ 15 นาที รวดเร็วมาก และให้เพื่อนโอนบิทคอยน์ จากอเมริกามาไทย ก็ใช้เวลารวดเร็วมากเช่นกัน

ดังนั้น บิทคอยน์จึงถือเงินสกุลเงินใหม่ที่ไม่ผ่านระบบธนาคารกลาง และเป็นที่ยอมรับใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั่วโลก ในระบบบิทคอยน์ จะมีการสร้างระบบที่เรียกว่า “Blockchain” เป็นเหมือนแหล่งเก็บข้อมูลการโอนทั่วทั้งระบบบิทคอยน์ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ที่สำคัญ “Blockchain”  เป็นระบบที่สามารถป้องกันการเกิดภาวะเงินเฟ้อและเสื่อมค่าลงของเงินได้ เราจะเห็นได้จากปัญหารัฐบาลอเมริกาหรือหลายๆประเทศปั๊มเงินออกมาเรื่อย ๆ ได้ตามใจชอบ เกิดภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้นระบบบิทคอยน์ จึงสามารถตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ได้

 

บิทคอยน์ (Bitcoin) มีจำนวนเท่าไหร่?

บิทคอยน์มีจำนวนจำกัด คือ 21 ล้านเหรียญเท่านั้น ไม่สามารถสร้างขึ้นมาอีกได้ ลดการเกิดภาวะเงินเฟ้อและเสื่อมค่าลงของเงินได้อย่างดี

 

 บิทคอยน์ (Bitcoin) ขุดยังไง เล่นแล้ว ได้กำไรจริงมั้ย ?

หลังจากที่บิทคอยน์เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งไทยและทั่วโลก จึงมีหลายคนเริ่มเห็นโอกาสในการทำกำไร ซึ่งก็มีคนที่ประสบความสำเร็จ ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำจากการลงทุนในบิทคอยน์
การได้มาของ bitcoin นั้นสามารถแบ่งออกมาได้เป็น 3 แบบดังนี้คือ 1.ได้มาโดยการขุด 2.ได้มาโดยการซื้อ 3.ได้มาโดยรูปแบบอื่นๆเช่น เล่นเกมส์ ใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งทั้ง 3 วิธีนั้นมีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้

 

  1. การขุด (Mining) Bitcoin

การได้มาซึ่งการขุด bitcoin ถือเป็นวิธีที่ ง่ายที่สุด และ ปลอดภัยที่สุดหากเทียบกับการได้มาซึ่ง bitcoin แบบอื่นๆ
บิทคอยน์จะมีระบบ Blockchain ที่ทำงานโดยอัลกอริทึม ”การขุดบิทคอยน์” อธิบายง่าย ๆ คล้าย ๆ กับการที่เราเข้าไปขุดทองในเหมือง แต่แค่เปลี่ยนรูปแบบมาทำในระบบคอมพิวเตอร์แทน โดยจะต้องนำคอมพิวเตอร์ของเราไปเป็นเซิร์ฟเวอร์ให้ระบบบิทคอยน์ใช้ในการเก็บธุรกรรมต่าง ๆ  จึงจะได้รับค่าตอบแทนคือเงินบิทคอยน์ แต่การจะได้ค่าตอบแทนนั้นจะต้องแก้ไขสมการทางคณิตศาสตร์ให้ได้ ซึ่งต้องแข่งกับคนอื่น ถ้าทำสำเร็จเราก็จะเป็นเจ้าของบิทคอยน์ที่เกิดขึ้นมาใหม่จากการขุดนั่นเอง

สำหรับความยากง่ายของการขุด หรือที่เรียก Difficulty, ค่า Diff  ขึ้นอยู่กับจำนวนบิทคอยน์ ที่เหลืออยู่ในระบบ ซึ่งถูกกำหนดสูงสุดไว้ที่ 21 ล้านเท่านั้น เพราะฉะนั้นยิ่งจำนวนบิทคอยน์เหลือน้อย การแก้สมการก็ยิ่งยากมากขึ้น รวมถึงความแรงของการประมวลผลคอมพิวเตอร์เราด้วยที่ต้องมากขึ้นตามความยากของการขุด หลายคนต้องซื้อการ์ดจอแรง ๆ เพื่อมาแข่งกันขุดบิทคอยน์ การ์ดจอของใครแรงกว่าก็จะมีโอกาสแก้สมการได้เร็วกว่า

 

เราไปดูวีดีโอ การขุด (Mining) นี้ได้เลย จะได้เข้าใจมากขึ้น

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=Mil2tFfp8H0[/embedyt]

ขณะที่ปัจจุบันจำนวนบิทคอยน์ที่เหลืออยู่ในระบบมีไม่ถึง 5 ล้าน แต่จำนวนคนที่เข้ามาขุดกลับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ค่าความยาก (ค่าDiff) เพิ่มสูงขึ้นตาม ดังนั้น ในตอนนี้ นักขุดหน้าใหม่ อาจจะไม่คุ้ม ถ้าคิดจะขุดหาบิทคอยน์ เนื่องจากต้องลงทุนซื้อการ์ดจอราคาแพง และจ่ายค่าไฟฟ้าที่ราคาสูงเช่นกัน  



  1. การเทรดบิทคอยน์ (Bitcoin)

แบบที่ 2 นี้คือการที่เราเอาเงินบาทไปซื้อเหรียญ bitcoin มาโดยตรงและเก็บเข้ากระเป๋าของเรา ลักษณะประมาณว่าเราไปซื้อทองออกมานั่นเอง เมื่อช่วงใดก็ตามที่ราคาของ bitcoin มีราคาสูงขึ้น คุณก็อาจสามารถขายออกมาทำกำไรได้ โดยคุณสามารถศึกษาเจาะลึกลงไปในเรื่องของการเทรดและการซื้อ ที่บทความด้านล่างนี้
มีหลายเว็บไซต์ที่ให้บริการ ซื้อขาย บิทคอยน์  เช่น BX, CoinBX, Bitcoin.co.th  ที่ทำหน้าที่เสมือนที่รับ ซื้อ ขายเหรียญบิทคอยน์  ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นกับกลไกลการตลาดกำหนด คือ ช่วงเวลาไหนที่ได้รับความนิยมสูง มูลค่าของบิทคอยน์ก็จะสูงขึ้นตาม

 

1 บิทคอยน์ เท่ากับ กี่บาท ?

มูลค่าของบิทคอยน์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเหมือนสกุลเงินอื่น ๆ ตามกลไกตลาด หรือที่เราเรียกว่าหลัก Demand Supply คือช่วงไหนที่ความต้องการบิทคอยน์ มีมากกว่าปริมาณบิทคอยน์ที่มีในระบบ ก็จะส่งผลให้มูลค่าบิทคอยน์เพิ่มขึ้น แต่ช่วงไหน ที่มีข่าวไม่ดี เกิดขึ้น เช่น ในช่วงที่โจรเรียกค่าไถ่ด้วยเงินบิทคอยน์ หรือ เกิด Hard fork ทาให้ความเชื่อมั่นในบิทคอยน์ลดลง คนเทขายในระบบมีมากเกิน ความต้องก็จะทำให้มูลค่าลดลง

 

โดยเมื่อช่วงเดือนสิงหาคม 2560 บิทคอยน์ได้สร้างสถิติสูงสุด คือ 1 BTC เท่ากับ 3400 USD หรือคิดเป็นประมาณ115,000 บาทเลยทีเดียว ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้ามาเก็งกำไรของนักลงทุนที่ทำให้มูลค่าพุ่งสูงมหาศาล

อย่างไรก็ดี บิทคอยน์ ถือเป็นสกุลเงินที่มีความผันผวนเป็นอย่างมาก ดังนั้นนักเทรดหน้าใหม่ต้องศึกษา หาความรู้ให้มากก่อนเข้ามาในแวดวงการบิทคอยน์

เราจะพาคุณ ไปรีวิวกับ 5 เว็บไซต์ซื้อขาย Bitcoin ในไทย ที่คุณเป็นสมาชิกได้เลย ทันที ฟรีค่ะ!!

 

  1. การเล่นเกมส์

แบบที่ 3 นี้ถือว่าง่ายที่สุดในการได้มาซึ่งเหรียญ bitcoin แต่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นวิธีการที่อาจจะต้องรู้จักเลือกเสียหน่อย เพราะมีหลายเว็บที่แจกบิทคอยน์ฟรี แต่ให้จำนวนที่น้อยมาก ไม่คุ้มค่า หรือ การลงทุนแบบอื่นๆๆ ก็มีความเสี่ยงถ้าไม่ศึกษาให้ดี

ยกตัวอย่าง เว็บไซต์ให้เหรียญฟรี ที่น่าเชื่อถือ สามารถถอนเหรียญออกมาได้ เมื่อครบจำนวนขั้นต่ำ มีดังนี้ 

  1. https://freebitco.in      เว็บไซต์นี้ให้ฟรี บิทคอยน์ ชั่วโมงละ ประมาณ 0.00000034 BTC อย่างต่ำ 
  2. http://freedoge.co.in   เว็บไซต์นี้ให้ฟรี ดอกคอยน์ ชั่วโมงละ ประมาณ 0.72 DOGE อย่างต่ำ 
  3. https://www.eobot.com   เว็บไซต์นี้ให้ขุดเหรียญฟรี และแจกเหรียญวันละครั้ง จากการเล่น Faucet 

**** เว็บไซต์เหล่านี้ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น และต้องการเก็บของฟรี แต่อย่างไรก็ตาม เราอาจจะได้เหรียญน้อยมาก ไม่คุ้มค่าแรง

 

บิทคอยน์ (Bitcoin) ผิดกฎหมายไหม ในไทย เป็นที่ยอมรับหรือยัง ?

หลายประเทศยอมรับบิทคอยน์อย่างถูกกฎหมาย อาทิ อเมริกา แคนาดา ยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการหลายรายที่ยอมรับการชำระสินค้าเป็นเงินบิทคอยน์ เช่น ร้านอาหารในญี่ปุ่น และบริษัทดังในอเมริกา

    แต่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ยังไม่ยอมรับสกุล Bitcoin และสกุลเงินดิจิตัลทุกชนิด โดยอ้างว่าระบบดังกล่าวไม่ใช่เงินที่แท้จริง และไม่สามารถใช้เงินบิทคอยน์ชำระหนี้ตามกฎหมายไทยได้     

 

สรุป บิทคอยน์ (Bitcoin) โอกาสหรือความเสี่ยง ?

ข้อดี บิทคอยน์ Bitcoin

ข้อเสีย บิทคอยน์ Bitcoin

  • มูลค่าของมันไม่ได้ตกอยู่ในการควบคุมของรัฐบาล ถือว่าเราเป็นเจ้าของเงินอย่างแท้จริง
  • มูลค่าสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการมากขึ้น ในขณะที่จำนวนบิทคอยน์เท่าเดิม
  • เราสามารถรับหรือส่งบิทคอยน์ให้กับใครก็ได้ในโลกนี้ได้อย่างรวดเร็วด้วยตัวของเราเอง
  • ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องตัวกลางเช่น bank, paypal, moneygram
  • เสียค่าธรรมเนียมน้อยมากๆ
  • ราคามีความผันผวนสูง
  • ยังไม่มีกฎหมายรองรับ จากธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายในไทย และบางประเทศ
  • การซื้อ ขาย และการใช้งาน อาจจะดูยุ่งยาก สำหรับมือใหม่
  • มีหลายกลุ่มใช้ BitCoin เป็นช่องทางของธุรกิจด้านมืด
  • บิทคอยน์ (Bitcoin) และ บล็อกเชน (Blockchain) เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ผู้เขียนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และได้ทำการศึกษา ทดลอง  และทำกำไรจากการเทรด เป็นเวลาเกือบปี  รวมถึงใช้โอนเงินข้ามทวีปได้อย่างรวดเร็ว  ต้องบอกว่าปัจจุบันบิทคอยน์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของเราอีกต่อไปแล้ว ผู้เขียนเชื่อว่า บิทคอยน์ คงจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ กับระบบการเงินของโลกในอนาคต ซึ่งการเรียนรู้ทำความเข้าใจในระบบ บิทคอยน์ (Bitcoin) และ บล็อกเชน (Blockchain) เหล่านี้ เอาไว้ก็ไม่เสียหาย เพราะใครจะไปรู้อนาคตข้างหน้า “บิทคอยน์” อาจกลายเป็นสกุลเงินหลักที่ใช้กันอย่างแพร่หลายก็ได้

    5 อันดับเว็บไซต์ ขุดบิทคอยน์ ที่นักขุดห้ามพลาด

    การขุดแบบ cloud mining จะทำให้การลงทุนขุดบิทคอยน์ เป็นเรื่องง่าย เพราะมีบริษัทที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการให้เรา และแบ่งผลประกอบการจากเงินที่เราลงทุนไป โดยให้ผลตอบแทนเป็นรายวัน อาจจะเรียกได้ว่า เป็น passive income โดยอัตราผลตอบแทนของการขุดแบบนี้จะอยู่ที่ประมาณ 8-30% ต่อเดือน โดยใช้เวลาคืนทุนประมาณ 3-12 เดือน ขึ้นอยู่กับบริษัทที่เลือกลงทุน จำนวนเงินลงทุน และราคาเหรียญ ณ ตอนนั้น ยิ่งเหรียญบิทคอยน์ มีราคาสูง จะยิ่งคืนทุนได้เร็ว

    >>>อ่านต่อ ที่นี่<<<