Tag: blockchain ในไทย

blockchain คือ อะไร? ทำไมถึงเป็นเทคโนโลยีมาแรงสำหรับยุคนี้

blockchain คือ อะไร

เทคโนโลยี Blockchain คือ อะไร?  มีการถูกพูดถึงกันมานานตั้งแต่ปี 2008 จนมาถึงปัจจุบันเลย แต่เรื่องนี้น่าสนใจตรงที่ว่า คุณรู้หรือไม่ว่าทำไมคนพูดถึงอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะยังคงเป็นเทคโนโลยีที่มาแรงสำหรับยุคนี้ หลายคนมองว่ามันจะมาเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลกเราเลยทีเดียว เวลาที่เราได้ยินคำนี้มักจะมีคำอื่นตามมาด้วย เช่น  บิทคอยน์ (Bitcoin) หรือสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดถึงกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ทั้งสองอย่างนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร  ใจความสำคัญของระบบ Blockchain นี้คือเทคโนโลยีอะไรกันแน่ คนยุคนี้จะเอาเทคโนโลยี Blockchain ไปทำอะไรต่อไปในอนาคต  แต่ก่อนที่เราจะนำเข้าเรื่อง วันนี้เราจะเล่าความเป็นมาสั้นๆ เบื้องต้นถึงที่มาที่ไปของเรื่องเงินๆทองๆที่ควรรู้กันซักนิด

ในปี 2008 อเมริกาเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจาก วิกฤติซับไพม์ หรือ ในประเทศไทยเราได้ยินกันคุ้นหู ว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอเมริกา และหนี้สินของบริษัทและบุคคลที่สูงมากเกินไป เกิดภาวะฟองสบู่แตกในตลาดที่อยู่อาศัยในอเมริกา 

วิกฤติครั้งนี้ เผยให้เห็นความอ่อนแอในระบบการเงินของอเมริกาและส่งผลกระทบลามไปทั่วโลก  เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ทำให้อเมริกาตัดสินใจพิมพ์เงินจำนวนมากเข้าระบบใหม่ โดยไม่มีการรับประกัน เรียกว่าพิมพ์กันขึ้นมาลอยๆ อยากได้เท่าไหร่พี่ใหญ่พิมพ์ไปเท่านั้น เพื่อมายื้อชีวิตเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนทุกคนจะได้มีเงินไปจับจ่ายและชำระหนี้กันต่อไป แถมยังตั้งชื่อการพิมพ์เงินแบบเก๋ๆว่า QE (Quantitative Easing) เหตุการณ์นี้ทำให้คนทั้งโลกต้องช็อคไปตามๆกัน

เรามาศึกษาเรื่อง พิมพ์เงิน QE (Quantitative Easing) กันอีกนิดจากวีดีโอนี้ 

 

จากการที่อเมริกาพิมพ์เงินออกมาเองเป็นว่าเล่น แบบ QE (Quantitative Easing) นี้เอง ทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของระบบการเงินที่ถูกควบคุมโดยรัฐบาลกลาง จนมีอัจฉริยะนิรนามที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto (ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังไม่มีใครทราบว่าผู้สร้างบิทคอยน์นั้นตัวจริง ๆ เป็นใคร เนื่องจากเจ้าตัวไม่ยอมเปิดเผยตัวตน) ได้ทำการปฏิวัติโลกของเงินตราด้วยการนำเสนอเทคโนโลยี Blockchain และเงินสกุลดิจิทัลชนิดแรก ที่เรียกว่า บิทคอยน์ Bitcoin ที่เป็นกระแสในปัจจุบัน ขึ้นชื่อในเรื่องความปลอดภัยและความน่าเชื่อถืออย่างที่สุด และหลังจากบิทคอยน์ถูกวางระบบเรียบร้อยและทำงานได้อย่างถูกต้อง  Satoshi ก็วางมือและหายไปตั้งแต่ปี 2010 และจากการสร้าง Bitcoin ขึ้นมานี่เอง ทำให้ตัวเขาได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ แต่ตัวเขาเองกลับปฏิเสธการรับรางวัล จากตรงนั้นมาถึงตรงนี้เราขอวางเรื่องของ บิทคอยน์ Bitcoin ไว้ก่อน แล้วมาคุยในเรื่องของ Blockchain แทน

Blockchain ทำงานยังไง? โปร่งใสกว่าและปลอดภัยจริงหรือ?

ทีนี้เรามาเข้าใจกันก่อนว่าเทคโนโลยี  Blockchain คืออะไร ? ทำไม Satoshi Nakamoto ถึงได้พัฒนาขึ้นมาใช้เพื่อบอกว่าสิ่งนี้โปร่งใสกว่าและปลอดภัยกว่าที่เคยมีมา

ให้เราลองนึกภาพของเรากับธนาคาร ปกติแล้วหากเราต้องการจะทำธุรกรรมทางการเงินไม่ว่าจะฝาก ถอน หรือโอนเงิน เราต้องไปทำผ่านธนาคารเท่านั้น ตรงนี้เราเรียกว่า ความเป็นศูนย์กลางหรือระบบที่รวมทุกอย่างไว้ที่ตัวกลาง (Centralized) ธนาคารจะเป็นผู้รับเรื่อง บันทึก เก็บเงินแต่เพียงผู้เดียว ส่วนเราได้แค่สำเนาหรือสมุดบัญชีเก็บไว้เป็นหลักฐาน มีแค่เราและธนาคารที่รู้ข้อมูลการเดินบัญชี และหากเราต้องการโอน ก็จะมีการบันทึกการเดินบัญชีของเราและบัญชีของผู้รับโอน ตรงนี้อาจมีค่าใช้จ่ายเพราะบางครั้งธนาคารคิดค่าธรรมเนียมเราเพิ่มด้วย และข้อมูลตรงนี้มีแค่เราสามคนที่รู้เรื่อง (ผู้โอน,ธนาคาร และผู้รับ)

วิกฤติการถอนเงินที่ ไซปรัส
วิกฤติการถอนเงินที่ ไซปรัส ประชาชนไม่สามารถถอนเงินของพวกเขาออกมาได้

ในปี 2013 เกิดเหตุการณ์วิกฤติการเงิน ทำให้ธนาคารกลางประเทศไซปรัสได้บังคับใช้มาตรการห้ามชาวไซปรัสถอนเงินเกินกว่า 300 ยูโรต่อวัน และห้ามนำเงินมากกว่า 1,000 ยูโรออกนอกประเทศ  ตลอดถึงมีแผนการยึดเงินผู้ฝาก และบังคับให้ประชาชนไซปรัสถือเป็นหุ้นธนาคาร-ห้ามถอนเงินในบัญชี ชั่วคราว ทำให้เริ่มมีหลายคนเคลือบแคลงใจในธนาคารกลาง ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางหรือระบบที่รวมอำนาจทุกอย่างไว้ที่ตัวกลาง ว่ามีความปลอดภัยจริงหรือไม่?

แต่ เทคโนโลยี Blockchain เริ่มเข้ามามีบทบาท ถูกออกแบบมาให้เราสามารถส่งข้อมูลหากันหรือแม้กระทั่งส่งเงินหากันได้ โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใดๆ ทุกคนในระบบมีเอกสารข้อมูลการเดินบัญชีทั้งหมดแบบ Public พูดได้ว่าเราสามารถรู้และตรวจสอบได้หมดว่าบัญชีไหนมีเงินเท่าไหร่ ใครโอนให้ใคร รับต่อกันอย่างไร ข้อมูลจะถูกส่งต่อถึงกันและกันได้โดยอัตโนมัติ ตรงนี้เรียกว่า ระบบกระจาย (Decentralized) ซึ่งความชัดเจนของระบบนี้ได้เกิดความโปร่งใสเรื่องเงินๆทองๆให้โลกตะลึง ฉะนั้นถือว่าระบบนี้ขจัดการหมกเม็ดและสร้างความกระจ่างเป็นอย่างมาก เพราะทุกคนเห็นข้อมูลตั้งแต่ต้นยันปัจจุบันด้วยกัน แตกต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นของยุคเก่า ที่ความโปร่งใสในการทำธุรกรรมมาแบบขุ่นๆ เทาๆ สร้างความคลางแคลงใจแก่ผู้คนไม่น้อย

มาทำความเข้าใจ Blockchain คือ อะไร จากวีดีโอนี้ 

Bitcoin (บิทคอยน์) กับ Blockchain  เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

วกกลับมาที่เรื่อง บิทคอยน์ Bitcoin กันต่อ โดยปกติแล้ว เงิน คือสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและทรัพยากรที่เราต้องการ ความน่าเชื่อถือของเงินในแต่ละสกุลขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลแต่ละประเทศ แต่จากประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจของโลกและเรื่องราวของการพิมพ์เงินออกมาเองแบบ QE ของอเมริกา ทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามเกิดความสังสัยว่า เงินประเภทไหนที่ไม่ต้องมีรัฐบาลมาคอยค้ำ ไม่ต้องมีทองคำมาตัวเป็นประกัน มีน่าเชื่อถือได้ด้วยตัวมันเอง เงินประเภทไหนที่จะไม่มีวันเพิ่มจำนวนอย่างไม่มีที่สิ้นสุดด้วยวิธีการ QE เงินประเภทไหนที่จะมีคุณสมบัติหายาก ปลอมแปลงไม่ได้ และแบ่งเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ ได้ แบบที่เราทำกับทองคำได้ จึงเป็นที่มาของนวัตกรรม Bitcoin เงินตราทางเลือกที่เป็นของมหาชน ดูแลโดยมหาชน ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งเป็นตัวกลาง มีความโปร่งใส ตรวจสอบธุรกรรมทั้งหมดได้ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นจริงได้ ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกชื่อว่า Blockchain นั่นเอง

Bitcoin คือ สกุลเงินแรกในรูปแบบของดิจิทัล ถูกสร้างขึ้นมาเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนในลักษณะเดียวกับทองคำ นั่นคือ มีจำนวนจำกัด หายาก ปลอมแปลงไม่ได้ โกงไม่ได้ หรือพูดอีกแง่ Bitcoin มีคุณสมบัติและคุณค่าไม่ต่างจากทองคำในอดีต ถูกสร้างขึ้นมาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Bitcoin ไม่มีรูปร่างและไม่สามารถจับต้องได้เหมือนธนบัตรหรือเหรียญเงินบาท Satoshi ได้โปรแกรมให้มีปริมาณ Bitcoin ที่จำกัด อยู่ในระบบเพียง 21 ล้าน Bitcoin เท่านั้น

จะเห็นได้ว่า Blockchain ไม่ใช่ Bitcoin และ Bitcoin ก็ไม่ใช่ Blockchain แต่โมเดล Bitcoin รันอยู่ในระบบของเทคโนโลยี Blockchain  เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ มีความปลอดภัย เพราะว่า Blockchain ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะ Bitcoin หรือ FinTech เพียงแต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ FinTech ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน

Blockchain จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร?

ยกตัวอย่างที่เห็นชัดๆก็เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) ที่เป็นสกุลเงินดิจิตอล เนื่องด้วยบิทคอยน์ไม่มีเงินจริงๆให้เราจับต้องได้ ดังนั้นเวลาที่เราโอนเงินหากันจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาช่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับบิทคอยน์ เพราะการโอนเงินให้กันก็จำเป็นต้องมีระบบที่น่าไว้ใจได้

หรืออย่างธุรกิจ Startup จะต่างกับ SME ก็ตรงเรื่องการที่เราเอาเทคโนโลยีเข้าไปใส่ธุรกิจดังนั้นส่วนใหญ่ของ Startup มีแนวโน้มที่จะต้องมาใช้เทคโนโลยี Blockchain แน่นอน เพราะทุกอย่างบนโลกแทบจะถูกเปลี่ยนเป็นข้อมูลดิจิตอลได้เกือบทั้งหมด เพราะถ้าเราสแกน กระดาษลงไปให้คอมพิวเตอร์นั้นก็แปลว่าเราได้เปลี่ยนกระดาษเป็นข้อมูลดิจิตอลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

และอีกเหุตผลหนึ่งที่ Blockchain ถูกให้ความสนใจมากขึ้นเพราะปัจจุบันประเด็นเรื่องความโปร่งใสของคนกลาง ก็เป็นประเด็นที่ถูกตั้งคำถามกันมากขึ้น ว่าทำไมเราถึงยอมให้ใครเพียงคนใดคนนึงเข้าถึงข้อมูลเราได้อย่างอิสระ จะดีกว่ามั้ยถ้าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่ส่วนตัวจริงๆ แล้วเราจะรู้ได้เฉพาะกับคนที่เราอนุญาตจริงๆเท่านั้น




Blockchain ข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ?

การที่ Blockchain มีรูปแบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ (Distributed), เกือบจะเป็น Real Time, ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการได้ และมีรูปแบบดิจิตอล ซึ่งทำให้เกิดข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

ข้อดี ของ Blockchain

ข้อเสีย ของ Blockchain

·         สามารถลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ หรือในสถาบันการเงิน

·         สามารถจัดการต่อธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่จากศูนย์กลาง

·         มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

·         ไม่สามารถลบ หรือกลับไปแก้ไขรายการได้

·         สามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมได้ และวิธีการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ

·         ลดความเสี่ยงจากการฉ้อโกง และการปลอมแปลงบัญชี

·         รับประกันได้ว่าข้อมูลถูกต้องเชื่อถือได้

·         มีการทำธุรกรรมและบันทึกผลได้แบบ real time

·         ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของงาน back office

·         ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมลดลง

·         นิยมใช้สำหรับการทำธุรกรรมที่มีจำนวนเงินน้อยๆ

·         สร้างโอกาสสำหรับผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ

·         ข้อมูลธุรกรรมในบัญชี distributed ledger จะต้องถูกเปิดเผยให้ทุกคนในวง Blockchain รู้

เนื่องจาก Blockchain ไม่มีตัวกลาง ดังนั้นระบบบัญชีจึงเป็นแบบกระจาย Distributed Ledger คือทุกคนในวงจะมีข้อมูลบัญชี Blockchain ที่เหมือนกัน หากใครมีการ update บัญชีก็ต้องแจ้งให้ทุกคนในวงทราบ

·         ยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้แพร่หลาย สำหรับบุคคลทั่วไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อมูลเกือบจะทุกรูปแบบสามารถแปลงให้อยู่ในรูปข้อมูลดิจิตอลได้ Blockchain จึงสามารถใช้สำหรับกิจกรรมที่แตกต่าง และหลากหลาย เนื่องจากกิจกรรมแทบทุกประเภทของคนเราตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อถือและตรวจสอบได้ ดังนั้น Blockchain จึงสามารถรองรับการซื้อขายสินค้า บริการ หลักทรัพย์ สินเชื่อ ที่ดิน บ้าน ฯลฯ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วมากขึ้น ง่ายกว่าเดิม และมีต้นทุนน้อยกว่าวิธีเดิมๆ ที่เราคุ้นเคยอย่างมาก

Blockchain กฏหมายและการยอมรับ ?

ก่อนหน้านี้ในระยะเริ่มแรก หลายประเทศยังไม่ตอบรับและไม่มีกฏหมายรองรับเงินสกุลดิจิทัล (Cryptocurrency) เหล่านี้ เนื่องจากไม่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของบัญชี ไม่มีคนควบคุม และเงินชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในบัญชีเดียวอีกด้วย แต่ในช่วงระยะหลังเริ่มมีหลายๆประเทศออกมายอมรับเงินสกุลดิจิทัลกันมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เต็มตัวอยู่ดี ตราบใดก็ตามที่มนุษย์ยังให้ความเชื่อถือใน Cryptocurrency หวังว่าจะสามารถแลกเงินโลกเสมือนกลับมาเป็นสิ่งของหรือสินค้าได้ไม่ต่างจากการซื้อขายด้วยเงินจริงหรือทองคำ และที่สำคัญคือ Cryptocurrency นี้ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจแต่อย่างใด ไม่ว่าอเมริกาจะไปถล่มเกาหลีเหนือ ยุโรปจะแตก ญี่ปุ่นจะล้มละลาย รัสเซียกับอเมริกาจะเริ่มสงครามโลกกันใหม่ หรือจีนจะครองโลก ก็ไม่ได้มีปัจจัยเกี่ยวอะไรกับพื้นฐานของเงินชนิดนี้เลย ตัวมันเองยังคงอยู่อย่างเป็นเอกเทศ แตกต่างจากเงินดอลล่าร์ เยน หยวน บาท หรือยูโร ที่นับวันจะผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายปีที่ผ่านมาโดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุดนิ่ง

Blockchain กับประเทศไทย ไปกันได้มั้ย?

สำหรับประเทศไทย แม้ว่าเทคโนโลยี Blockchain จะถือเป็นเรื่องใหม่แต่ด้วยนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ธุรกิจจึงต้องปรับตัวเข้ากับนวัตกรรมใหม่ ๆ ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เริ่มมีนโยบายนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้กับ Startup ทดสอบกระดานการลงทุนเฉพาะกลุ่ม เพื่อเป็นการทดสอบระบบแยกจากการซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามถือว่าการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับไทยและยังต้องศึกษาการพัฒนาการใช้เทคโนลียีนี้ต่อไปในอนาคต

กระแสของ Blockchain และตัวอย่างข่าวที่น่าสนใจ ที่จะเปลี่ยนแปลงอนาคต

  • ส่วนภาคเอกชนไทย ธนาคารกสิกรไทย เริ่มมีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้แล้วเช่นกันแต่ยังไม่ได้เป็นการใช้ในการแลกเปลี่ยนธุรกรรมทางการเงินในระบบออนไลน์ แต่จะนำมาใช้กับการรับรองเอกสารหนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบระบบ โดยโครงสร้างพื้นฐาน Blockchain ที่นำมาใช้ในครั้งนี้มีชื่อว่า “ไฮเปอร์เลจเจอร์” (Hyperiedger) ของบริษัท IBM ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อการประยุกต์ใช้สำหรับองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานในมาตรฐานเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว มีลักษณะพิเศษที่สามารถกำหนดสิทธิให้ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น (Private Blockchain)
  • ธนาคารกรุงศรีและไออาร์พีซี ประสบความสำเร็จในการโอนเงินระหว่างประเทศผ่าน นวัตกรรม Krungsri Blockchain’s Interledger แบบเรียลไทม์เป็นครั้งแรกของภาคธุรกิจไทย         ที่มา: Blognone (เผยแพร่วันที่ 28 กันยายน 2560)
  • IBM เผยใช้ Blockchain สำหรับทำสัญญาและโอนเงินข้ามประเทศ ตอบโจทย์ธุรกิจ B2B และ B2C โดยมีกสิกรไทยเข้าร่วมสัญญาและโอนเงินระหว่างกันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยใช้เทคโนโลยี IBM Blockchain เป็นพื้นฐาน ในการเปิดตัวครั้งนี้ IBM ได้จับมือกับ Stellar.org และ KlickEx Group เพื่อพัฒนาโซลูชันร่วมกัน เพื่อให้การทำสัญญาและการทำธุรกรรมนั้นเกิดขึ้นได้ภายใน Blockchain บน Cloud แบบเกือบ Real-time ปัจจุบันโซลูชันนี้รองรับสกุลเงิน 12 สกุลแล้ว ได้มีการร่วมมือกับธนาคารและสถาบันการเงินหลากหลายประเทศ  รวมถึงกสิกรไทยด้วย โดย World Bank ได้ออกมาวิเคราะห์ว่าเทคโนโลยีที่จะมาปรับปรุงธุรกรรมการจ่ายเงินให้ดีขึ้นในลักษณะนี้จะมีผู้ใช้งานจำนวนมากถึง 1,000 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2020 ก็ต้องติดตามดูกันต่อไปว่า IBM จะเข้าไปมีบทบาทในตลาดนี้ได้มากน้อยแค่ไหนในอนาคต      ที่มา: Techtalkthai (เผยแพร่วันที่ 16 ตุลาคม 2560)
  • Massachusetts Institute of Technology (MIT) เริ่มให้บริการ Digital Diploma ใช้ Blockchain ยืนยันการจบหลักสูตรและปริญญาบัตร    MIT ใช้ Blockchain ในการสร้าง Digital Diploma เพื่อใช้ยืนยันว่านักศึกษาได้เรียนจบหลักสูตรหรือได้ปริญญาบัตร และนำไปอ้างอิงได้ผ่าน Mobile Application บน Smartphone เพิ่มเติมจากเอกสารบนกระดาษแบบเดิมๆ  เพื่อให้นักศึกษาที่เรียนจบไปนั้นได้นำปริญญาบัตรของตนไปอ้างอิงได้อย่างง่ายดาย และทำให้การปลอมแปลงสวมรอยอ้างว่าเรียนจบจาก MIT เป็นไปได้ยากขึ้น   ที่มา: Techtalkthai (เผยแพร่วันที่ 27 ตุลาคม 2560)
  • เซอร์ไพรส์วงการ Blockchain เมื่อ Kodak และ LINE ประกาศเตรียมออกเงินดิจิทัลของตัวเอง  วงการเงินดิจิทัลและ Blockchain ยังฮอตไม่หยุด เมื่อบริษัทสาย Traditional อย่าง Kodak ขยับตัวครั้งใหญ่ เดินหน้าเตรียมเปิดตัวเงินดิจิทัลของตัวเองภายใต้ชื่อ KODAKCoin โดย Kodak กล่าวว่า KODAKCoin จะเป็นเงินดิจิทัลที่โฟกัสกับงานภาพถ่าย เพื่อสนับสนุนช่างภาพและ agency ในการควบคุมและจัดการเรื่องลิขสิทธิ์ของภาพถ่ายให้รัดกุมยิ่งขึ้น ซึ่งสกุลเงินดิจิทัลของ Kodak จะเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้ช่างภาพได้รับเงินแบบปลอดภัยมากขึ้น และช่วยปกป้องผลงานด้วย นอกเหนือจากการบันทึกลิขสิทธิ์ภาพ KODAKOne ยังให้บริการค้นหา ตรวจสอบการละเมิดลิขสิทธิ์ ที่อาจจะเกิดขึ้นบนเว็บต่างๆ ต่อด้วย และหากตรวจพบการละเมิด ระบบจะช่วยดำเนินการให้เพื่อให้ช่างภาพได้รับการตอบแทนตามที่สมควรได้รับ
  • ขณะที่แอปพลิเคชัน Messenger อย่าง Line ก็ประกาศจะออกเงินดิจิทัลเช่นกัน โดยมีข่าวว่ากำลังหารือพูดคุยกับ partner หลายราย เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่าเดิม นอกจากนัน Line เริ่มประสบปัญหาจากการเสียผู้ใช้บริการบางส่วนไปจาก 218 ล้านคน เหลือ 203 ล้านคนในเดือนตุลาคม 2017 ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ จึงมีความเป็นไปได้ว่า Line จะนำเงินดิจิทัลและระบบ Blockchain มาใช้สำหรับการให้รางวัลผู้ใช้ที่ใช้บริการแชทผ่าน Line messenger หรือใช้บริการ Line Pay  ที่มา: Techsauce (เผยแพร่วันที่ 11 มกราคม 2561)
  • IBM ตั้งบริษัทร่วมทุน Maersk พัฒนา Blockchian สำหรับอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือ   IBM ประกาศความร่วมมือกับ Maersk บริษัทด้านขนส่งและเดินเรือรายใหญ่ของโลก ตั้งบริษัทร่วมทุน (joint venture) สำหรับนำ blockchain มาใช้กับเครือข่ายขนส่งทางเรือ บริษัทใหม่จะมีหน้าที่สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการค้าและการขนส่ง เป็นมาตรฐานเปิดที่ให้ทุกบริษัทในวงการชิปปิ้งสามารถใช้งานได้ เป้าหมายคือการลดต้นทุนและความซับซ้อนในการขนส่งสินค้าทางเรือ โดย IBM ระบุว่า blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะมากสำหรับโจทย์นี้ เพราะการขนส่งทางเรือมีผู้เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก กระจายกันอยู่ทั่วโลก การนำ blockchain มาสร้างฐานข้อมูลกลางสำหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้น โดยแชร์ข้อมูลระหว่างกันแต่ไม่มีใครสามารถแก้ไขข้อมูลได้โดยลำพัง ย่อมจะช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น     ที่มา: Blognone (เผยแพร่วันที่ 17 มกราคม 2561)
  • สรรพากรประเทศจีนจับมือ Tencent เล็งใช้ Blockchain เพื่อป้องกันการหนีภาษี บริษัทด้านเทคโนโลยียักษใหญ่สัญชาติจีนนาม Tencent ได้จับมือกับหน่วยงานเก็บภาษีของเมืองเซินเจิ้นเพื่อที่จะนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในป้องกันการหนีภาษี โดยประกาศระบุว่า แล็บดังกล่าวจะนำการวิจัยเชิงทฤษฎีกับเทคโนโลยีที่เพึ่งกำเนิดขึ้นมาใหม่ เช่น Cloud Computing, Artificial intelligence (AI) , Blockchain และ Big Data มารวมกันเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเก็บภาษีและ Invoice อิเล็กทรอนิกส์         ที่มา: siamblockchain.com (เผยแพร่วันที่  28 พฤษภาคม 2561)

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดคงเห็นแล้วว่าเทคโนโลยี Blockchain สามารถสร้างแรงกระเพื่อมครั้งยิ่งใหญ่ให้แก่ทุกวงการที่ต้องการความโปร่งใสของข้อมูล ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทุกคนรับทราบการเผยแพร่ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูงขึ้น หากตั้งโจทย์การนำไปใช้ให้เหมาะสม เราจะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆต่อไปได้อีกมาก สำหรับผู้อ่านทั่วไปเองก็พอจะมองเห็นได้ว่า  Blockchain สามารถนำไปสร้างประโยชน์ให้แก่ทั้งองค์กร สังคม ไปจนสามารถยกระดับศักยภาพของประเทศได้ด้วย

***ฉะนั้นเราควรศึกษา สร้างการรับรู้ การเตรียมความพร้อม และการสร้างความเข้าใจในเทคโนโลยี Blockchain จะกลายเป็นข้อได้เปรียบของผู้ประกอบการในการคว้าโอกาสใหม่ ๆ เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการธุรกิจได้อย่างทันยุคสมัยและเกิดประโยชน์มากที่สุด



Credit: https://www.aware.co.th , https://goalbitcoin.com


บทความที่เกี่ยวข้อง

ขุดบิทคอยน์ คืออะไร ? คุ้มค่าไหมที่จะลงมือขุดเอง ?

เรื่องเล่าในวงการบิทคอยน์ ที่โด่งดังไปทั่วโลก

6 กลโกงการลงทุนบิทคอยน์ มือใหม่ทุกคนต้องระวัง!

คนรวยด้วยบิทคอยน์ มีสักกี่คน? มือใหม่อยากรวย ตามมาดูกัน

Blockchain คืออะไร มันเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ได้อย่างไร? ปลอดภัยแค่ไหน?

ช่วงนี้ถ้าเรามีโอกาสได้อ่านข่าวหรือตามข่าว มักจะได้ยินคำว่า  Blockchain และถ้ายิ่งเป็นข่าวเรื่อง Fintech ก็จะยิ่งมีคำว่า  Blockchain  ลอยเต็มไปหมด หลายๆคนก็อาจจะสงสัยว่า  Blockchain จริงๆมันคืออะไรกันแน่? มันเป็นเทคโลยีเปลี่ยนโลก ได้อย่างไร? แล้วทำไมถึงเป็นกระแสที่เราต้องจับตาดูกันอย่างใกล้ชิด

วันนี้เราจะให้ทุกคนไปทำความรู้จักกับ เทคโนโลยี  Blockchain ที่ได้รับการคาดหมายว่าจะมาเปลี่ยนแปลงโลก ในระยะเวลาอันใกล้นี้กัน

 Blockchain (บล็อคเชน) คืออะไร?

Blockchain บล็อคเชน คือ ระบบการจัดเก็บข้อมูล หรือ เครือข่ายการจัดเก็บข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลเดียวกันได้ แน่นอนว่าเราสามารถรู้ได้ว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลที่อยู่ในระบบ และมีสิทธิ์ใช้ข้อมูลพวกนั้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในบล็อค (Block) และเป็นข้อมูลที่เชื่อมโยงกันอยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตคล้ายห่วงโซ่ (Chain) ทำให้การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบนี้ถูกเรียกว่า Blockchain บล็อคเชน  นั่นเอง

Blockchain (บล็อคเชน) เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมออนไลน์ อย่างไร?

อย่างเมื่อก่อนเวลาที่ เราโอนเงินให้กัน เราก็จำเป็นที่ต้องมีธนาคารเป็นตัวกลางโดยที่เราต้องไปเปิดบัญชีกับธนาคารแล้วจากนั้นถึงโอนเงินหากันได้  ซึ่ง BlockChain ถูกออกแบบมาเพื่อลดขั้นตอนและตัดคนกลางออกไป เพื่อให้ระบบเกิดความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือที่มากขึ้น เพราะในปัจจุบันระบบของธนาคารก็ถูกท้าทายจาก Hacker มือดีมาโดยตลอด แต่อีกประเด็นนึงก็คือเรื่องของค่าธรรมเนียมที่เราจะจ่ายน้อยลงหรือาจจะไม่ต้องเสียเลยก็ได้

“Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง“

Blockchain ถูกออกแบบมาให้เราสามารถส่งข้อมูลหากันหรือแม้กระทั่งส่งเงินหากันได้ โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใดๆ เพราะเวลาที่เราส่งข้อมูลไปหายังผู้รับ ข้อมูลนั้นจะถูกเข้ารหัสไว้ แล้ว คนที่สามารถเปิดดูได้ก็จะมีเพียงคนที่รู้รหัสเท่านั้น ซึ่งก็คือผู้รับ นั่นเอง แน่นอนว่าไม่มีค่าธรรมเนียมหรือถ้ามีก็จะต่ำมากๆโดยที่จะเป็นการแชร์เครือข่ายระหว่างผู้ใช้งานกันเอง ไม่ผ่านระบบของตัวกลางอย่างธนาคารนั้นแปลว่าคนที่รู้ข้อมูลหรือเห็นข้อมูลเราก็จะมีเพียงเราและผู้รับที่เราส่งข้อมูลให้เท่านั้น เพราะ  Blockchain คือระบบที่ออกแบบมาให้ผู้ใช้ติดต่อกับผู้ใช้ได้โดยตรง แบบไม่ผ่านตัวกลาง ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเทคโนโลยีนี้เกิดขึ้นมาจริงๆอาชีพตัวกลางหลายๆธุรกิจก็จะลำบากมากขึ้นให้อนาคต

Bitcoin (บิทคอยน์) กับ Blockchain (บล็อกเชน) เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

Blockchain เป็นเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยของข้อมูล

Bitcoin ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอล

จะเห็นได้ว่า Blockchain ไม่ใช่ Bitcoin และ Bitcoin ก็ไม่ใช่ Blockchain แต่โมเดล Bitcoin มีความต้องการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ มีความปลอดภัย เพราะว่า Blockchain ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะ Bitcoin หรือ FinTech เพียงแต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ FinTech ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน และการบูมของเทคโนโลยีตัวนี้ มาจากความพยายามในการทำ Bitcoin

Blockchain บล็อคเชน จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร?

ยกตัวอย่างที่เห็นชัดๆก็เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) ที่เป็นสกุลเงินดิจิตอล เนื่องด้วยบิทคอยน์ไม่มีเงินจริงๆให้เราจับต้องได้ ดังนั้นเวลาที่เราโอนเงินหากันจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาช่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับบิทคอยน์ เพราะการโอนเงินให้กันก็จำเป็นต้องมีระบบที่น่าไว้ใจได้

หรืออย่างธุรกิจ Startup จะต่างกับ SME ก็ตรงเรื่องการที่เราเอาเทคโนโลยีเข้าไปใส่ธุรกิจดังนั้นส่วนใหญ่ของ Startup มีแนวโน้มที่จะต้องมาใช้เทคโนโลบี Blockchain แน่นอน เพราะทุกอย่างบนโลกแทบจะถูกเปลี่ยนเป็นข้อมูลดิจิตอลได้เกือบทั้งหมด เพราะถ้าเราสแกน กระดาษลงไปให้คอมพิวเตอร์นั้นก็แปลว่าเราได้เปลี่ยนกระดาษเป็นข้อมูลดิจิตอลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

และอีกเหุตผลหนึ่งที่ Blockchain ถูกให้ความสนใจมากขึ้นเพราะปัจจุบันประเด็นเรื่องความโปร่งใสของคนกลาง ก็เป็นประเด็นที่ถูกตั้งคำถามกันมากขึ้น ว่าทำไมเราถึงยอมให้ใครเพียงคนใดคนนึงเข้าถึงข้อมูลเราได้อย่างอิสระ จะดีกว่ามั้ยถ้าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่ส่วนตัวจริงๆ แล้วเราจะรู้ได้เฉพาะกับคนที่เราอนุญาตจริงๆเท่านั้น

Blockchain โอกาสหรือความเสี่ยง ?

การที่ Blockchain มีรูปแบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ (Distributed), เกือบจะเป็น Real Time, ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการได้ และมีรูปแบบดิจิตอล ซึ่งทำให้เกิดข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

ข้อดี ของ Blockchain

ข้อเสีย ของ Blockchain

·         สามารถลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ หรือในสถาบันการเงิน

·         สามารถจัดการต่อธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่จากศูนย์กลาง

·         มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

·         ไม่สามารถลบ หรือกลับไปแก้ไขรายการได้

·         สามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมได้ และวิธีการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ

·         ลดความเสี่ยงจากการฉ้อโกง และการปลอมแปลงบัญชี

·         รับประกันได้ว่าข้อมูลถูกต้องเชื่อถือได้

·         มีการทำธุรกรรมและบันทึกผลได้แบบ real time

·         ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของงาน back office

·         ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมลดลง

·         นิยมใช้สำหรับการทำธุรกรรมที่มีจำนวนเงินน้อยๆ

·         สร้างโอกาสสำหรับผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ

·         ข้อมูลธุรกรรมในบัญชี distributed ledger จะต้องถูกเปิดเผยให้ทุกคนในวง Blockchain รู้

เนื่องจาก Blockchain ไม่มีตัวกลาง ดังนั้นระบบบัญชีจึงเป็นแบบกระจาย Distributed Ledger คือทุกคนในวงจะมีข้อมูลบัญชี Blockchain ที่เหมือนกัน หากใครมีการ update บัญชีก็ต้องแจ้งให้ทุกคนในวงทราบ

 

·         ยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้แพร่หลาย สำหรับบุคคลทั่วไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อมูลเกือบจะทุกรูปแบบสามารถแปลงให้อยู่ในรูปข้อมูลดิจิตอลได้ Blockchain จึงสามารถใช้สำหรับกิจกรรมที่แตกต่าง และหลากหลาย เนื่องจากกิจกรรมแทบทุกประเภทของคนเราตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อถือและตรวจสอบได้ ดังนั้น Blockchain จึงสามารถรองรับการซื้อขายสินค้า บริการ หลักทรัพย์ สินเชื่อ ที่ดิน บ้าน ฯลฯ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วมากขึ้น ง่ายกว่าเดิม และมีต้นทุนน้อยกว่าวิธีเดิมๆ ที่เราคุ้นเคยอย่างมาก

Blockchain (บล็อคเชน) กับประเทศไทย ไปกันได้มั้ย?

สำหรับประเทศไทย แม้ว่าเทคโนโลยี Blockchain จะถือเป็นเรื่องใหม่แต่ด้วยนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ธุรกิจจึงต้องปรับตัวเข้ากับนวัตกรรมใหม่ ๆ ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เริ่มมีนโยบายนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับ Startup ทดสอบกระดานการลงทุนเฉพาะกลุ่ม เพื่อเป็นการทดสอบระบบแยกจากการซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามถือว่าการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับไทยและยังต้องศึกษาการพัฒนาการใช้เทคโนลียีนี้ต่อไปในอนาคต

ส่วนภาคเอกชนไทย ธนาคารกสิกรไทย เริ่มมีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้แล้วเช่นกันแต่ยังไม่ได้เป็นการใช้ในการแลกเปลี่ยนธุรกรรมทางการเงินในระบบออนไลน์ แต่จะนำมาใช้กับการรับรองเอกสารหนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบระบบ โดยโครงสร้างพื้นฐาน Blockchain ที่นำมาใช้ในครั้งนี้มีชื่อว่า “ไฮเปอร์เลจเจอร์” (Hyperiedger) ของบริษัท IBM ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อการประยุกต์ใช้สำหรับองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานในมาตรฐานเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว มีลักษณะพิเศษที่สามารถกำหนดสิทธิให้ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น (Private Blockchain)

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเคลื่อนไหวก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา “Blockchain” เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่เกิดขึ้นซึ่งมาสร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกส่วนของภาคอุตสาหกรรม ฉะนั้นการศึกษา สร้างการรับรู้ การเตรียมความพร้อม และการสร้างความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะกลายเป็นข้อได้เปรียบของผู้ประกอบการในการคว้าโอกาสใหม่ ๆ เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการธุรกิจได้อย่างทันยุคสมัยและเกิดประโยชน์มากที่สุด

แต่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้ระบบ Blackchain ก็ยังถูกตั้งคำถามเรื่องความปลอดภัยอยู่เหมือนกันว่าปลอดภัยจริงหรือเปล่า แล้วต่อจากนี้หน้าตาของระบบ BlockChain จะเป็นอย่างไร จะเข้ามาแทนระบบเก่าได้อย่างสมบูรณ์เลยหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป


Hardware wallet สำหรับเก็บบิทคอยน์

Hardware wallet เก็บบิทคอยน์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเล่าในวงการบิทคอยน์ ที่โด่งดังไปทั่วโลก

blockchain คือ อะไร? ทำไมถึงเป็นเทคโนโลยีมาแรงสำหรับยุคนี้

6 กลโกงการลงทุนบิทคอยน์ มือใหม่ทุกคนต้องระวัง!

คนรวยด้วยบิทคอยน์ มีสักกี่คน? มือใหม่อยากรวย ตามมาดูกัน




Credit: finance.rabbit.co.th,techsauce.co, siamblockchain.com,

Top 10 Best Altcoins จุดเด่น จุดด้อย ยังไง? ตัวไหนน่าลงทุน

เคยสงสัยไหม ว่า Bitcoinและสกุลเงินดิจิตอลคืออะไร ตัวไหนเป็น Top 10 Best Altcoins จุดเด่น จุดด้อย ยังไง? ตัวไหนน่าลงทุน ? 

 

ในบทความนี้มีคำตอบให้คุณ เริ่มด้วยการมารู้จักกับสกุลเงินหลักเลย นั่นก็คือ Bitcoin ซึ่งเป็น CryptoCurrency หรือสกุลเงินดิจิตอลแรกของโลก และยังมีสกุลเงินอื่นที่เรียกว่า เหรียญ Altcoin หรือ Alternate Coin คือเหรียญ cryptocurrency ทุกๆเหรียญที่ไม่ใช่ Bitcoin เนื่องด้วยความที่เหรียญ Bitcoin นั้นคือต้นกำเนิดของทุกๆสิ่ง ทำให้เหรียญที่โผล่ออกมาหลังจากนั้นบนเทคโนโลยี Blockchain จึงถูกเรียกว่าเหรียญทางเลือกหมด

 

วันนี้เราจะนำคุณไปรู้จักกับ Bitcoin และ Altcoin ที่น่าลงทุน10 อันดับ ในตารางการซื้อขายเหรียญพร้อมกับจุดเด่นจุดด้อย 

5 เว็บไซต์ซื้อขาย Bitcoin ในไทย หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

Top 10 Best Altcoins จุดเด่น จุดด้อย 

อันดับ

จุดเด่น

จุดด้อย

 อันดับ 1 Bitcoin (BTC)

เริ่มใช้งานในปี 2009

– เป็น CryptoCurrency แรกของโลก

– มีมูลค่าการซื้อขายในตลาด CryptoCurrency สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก

– เป็นทียอมรับอย่างสากลในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย

– ค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนสูง

– รอการยืนยัน transection นาน

Bitcoin มีการพัฒนาต่อยอดระบบไปได้ช้า

อันดับ 2 Ether (ETH)

เริ่มใช้งานในปี 2015

– เป็นที่ต้องการในการรัน application บนระบบ Ethereum

– เป็นที่ต้องการจำนวนมากในการระดมทุน ICO ( Initial Coin Offering )

– องค์กรและสถาบันการศึกษาจำนวนมากเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเทคโนโลยี Ethereum

Ether คือ เชื้อเพลิงสำหรับระบบ Ethereum ไม่ใช่ออกแบบเพื่อเป็นสกุลเงินแลกเปลี่ยน ณ ตอนนี้
อันดับ3 Bitcoin Cash (BCH)

เริ่มใช้งานในปี 2017

– HardFork พื้นฐานระบบมากจาก Bitcoin

– รองรับธุรกรรมทางการเงินพร้อมๆกันได้มากกว่า Bitcoin

– เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วสำหรับเว็บไซต์เทรดดิ้ง และ wallet ซอฟต์แวร์

– อยู่ในช่วงเริ่มต้น ยังไม่มี Roadmap ที่แน่ชัดนัก

– ยังคลุมเครือสำหรับผู้ใช้งาน

อันดับ 4 Ripple (XRP)

เริ่มใช้งานในปี 2013

– เป็นที่ยอมรับของสถาบันการเงิน

สร้างขึ้นมาสถาบันการเงินในการแลกเปลี่ยนเงินตราและทรัพย์สินระหว่างประเทศ

– ยืนยันธุรกรรมการเงินได้รวดเร็วในระดับวินาที

– ทำงานบนระบบ private blockchain ซึ่งถูกจำกัดให้ดูแลโดยองค์กรต่างๆ

– บริษัทRipple lap มีส่วนครอบครองจำนวนเหรียญมากถึง 60% ของจำนวนทั้งหมดในการตลาด

อันดับ 5 Litecoin (LTC)

เริ่มใช้งานในปี 2011

– เป็นสกุลเงินอันดับสองของโลก CryptoCurrency

– คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า ด้วยจำนวนที่มาก และมีราคาถูกกว่า Bitcoin

– มีค่าธรรมเนียมถูก

 

แถบจะเหมือน Bitcoin และไม่มีฟีเจอร์ใหม่ๆให้ผู้ใช้งาน เหมือนเหรียญใหม่ๆ
อันดับ 6 Dash

เริ่มใช้งานในปี 2014

– สามารถปกปิดข้อมูลธุรกรรมการเงินต่อบุคคลภายนอกได้

– ออกแบบมาเพื่อเป็น CryptoCurrency ในการแลกเปลี่ยนซื้อ-ขาย

– ยืนยันธุรกรรมการเงินได้ในระดับวินาที

– มีระบบ ecosystem ที่ดีในการพัฒนาต่อยอดระบบ Dash

– ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

– อายุของสกุลเงิน Dash ยังไม่มากนัก

อันดับ 7 NEM (XEM)

เริ่มใช้งานในปี 2014

– NEM เป็นระบบ blockchain ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ไม่ได้ fork มาจาก CryptoCurrency ใดๆ

– เป็นมิตรกับ developer ด้วยความที่พัฒนาบนภาษาสากลอย่าง Java

– มีฟีเจอร์หลากหลายในการพัฒนา application blockchain บน NEM

 NEM ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นระบบ Blockchain คล้ายๆกับ Ethereum มากกว่าการที่จะใช้เป็น CryptoCurrency ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
อันดับ 8 IOTA

เริ่มใช้งานในปี 2014

– ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมทำธุรกรรมการเงิน

– สามารถรองรับการใช้งานร้อมๆกันได้เป็นจำนวนมากในระบบ โดยที่ไม่ต้องทำการขยาย block size เหมือน Blockchain ทั่วไป

– ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
อันดับ 9 Monero(XMR)

เริ่มใช้งานในปี 2014

– ด้วยความที่ไม่สามารถติดตามธุรกรรมทางการเงินได้ เหรียญ Monero จะมีค่าตลอดไปถึงแม้ว่าจะถูกยักยอกส่งผ่านจากบัญชีที่ทำผิดกฎหมายก็ตาม

– ปกปิดธุรกรรมการเงินของผู้ใช้ ทำให้บุคคลภายนอกไม่สามารถติดตามธุรกรรมย้อนหลัง

– Application หรือ Wallet ที่ใช้งานกับสกุลเงินนี้มีจำนวนน้อยมากๆ ใช้งานได้ยาก
อันดับ 10 NEO

เริ่มใช้งานในปี 2014

NEO สามารถสร้าง เก็บ และแลกเปลี่ยนทรัพย์สินหรือสิ่งของในรูปแบบของเหรียญได้ ไม่ว่าจะเป็นของที่มีตัวตนบนโลกจริงๆหรือบนโลกดิจิตอล เช่นที่ดิน ทอง หุ้น สกุลเงิน เหรียญ ICO คะแนนสะสมแต้ม และอื่นๆอีกมาก – ข้อมูลข่าวสารติดตามยากเพราะเป็นภาษาจีน เราอาจได้ข่าวอาจช้ากว่าคนอื่น

– การแทรกแซงของรัฐบาลจีนในวงการ Blockchain

ตัวอย่างใน YouTube ที่ทำการทดลอง ถือเหรียญ Top 10 Best Altcoins ในปีที่แล้ว มาดูกันว่า 1 ปีผ่านไป เงินจำนวนนี้เพิ่มมูลค่าเป็นเท่าไหร่? ไปดูกันเลย!

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=_wNb9ZbPRYY[/embedyt]

ผู้เขียนอยากจะแนะนำมือใหม่ว่า การที่เราถือเหรียญใดๆไว้ ควรพิจารณาหลายอย่างประกอบด้วย การที่เราแบ่งเงินลงทุน มาเพื่อถือเหรียญที่มีอนาคต ในระยะยาว ถือว่าคุ้มค่ามาก จะเห็นได้จากตัวอย่างใน YouTube ที่ทำการทดลอง ถือเหรียญ Top 10 Best Altcoins ในปีที่แล้ว โดยถ้าเราลงทุนเหรียญเหล่านี้ ตัวละ 1000 ดอลล่าร์ 1 ปี ผ่านไป เงินก้อนนี้จะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เป็น 240,279 ดอลล่าร์ 

 

สรุป CryptoCurrency ยังเป็นสิ่งที่น่าลงทุนมากเพราะ Bitcoin ยังมีการเติบโตเรื่อยๆ และยังครองส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่ของตลาด ปริมาณการซื้อขายของมันมากกว่าเงินดิจิตอลสกุลอื่นๆ บางคนก็เชื่อว่าเงินดิจิตอลนี้จะเป็นฟองสบู่ที่ใกล้จะแตก แต่ด้วยการเมืองที่มีความขัดแย้งต่าง ๆ และสภาพเศรษฐกิจจะทำให้ราคา bitcoin สูงขึ้นยิ่งกว่านี้ แต่เหรียญ Altcoin อย่าง Ethereum และ Ripple นั้นถูกใช้ในองกรณ์ก็เริ่มมีความเป็นที่นิยมเช่นกัน ขณะที่เงินดิจิตอลอื่นๆก็มีฟีเจอร์ที่เพิ่มเติมมาจาก Bitcoin ซึ่งเทรนตอนนี้เงินดิจิตอลยังไปได้ดี จึงไม่แปลกที่สกุลเงินดิจิตอลเหล่านี้จึงน่าลงทุนเพื่อกินกำไรจากการเติบโตของมัน